Rview: asus maximus viii gene สายพันธุ์ ROG ที่มาตอบโจทย์ยุค Z170
สวัสดีทุกๆท่านสำหรับวันนี้อาจจะเป็นวันที่หลายๆคนรอคอยกัน เพราะวันนี้ก็ถือว่าเป็นวันเปิดตัวของ CPU Intel Skylake นั้นเองครับ โดยครั้งนี้ทาง Intel นั้นก็เหมือนได้เล่นตลกกันอีกแล้วเพราะว่าทาง Intel นั้นได้ทำการเปลียนซ๊อกเกตสำหรับ cpu ใหม่ โดยตอนนี้จะใช้งานเป็นซ๊อกเกต 1151 โดย Gen นี้นั้นมีการเปลียนแปลงค่อนข้างมากอยู่ทีเดียวเพราะว่าทางส่วนของ Memory นั้นก็ได้มีการเปลียนมาใช้งานเป็นแบบ Ram DDR 4 อีกด้วยครับ สำหรับวันนี้ก่อนที่เราจะไปดูเมนบอร์ดเดียวผมพาไปดูพวกฟีคเจอร์รายละเอียดต่างๆของเมนบอร์ด Asus กันก่อนดีกว่าครับสำหรับส่วนแรกเลยนั้นทาง Asus ได้ ใส่ตัวจูน BCLK ที่แยกการทำงานของตัว cpu และ PCI-e เพื่อช่วยในการ Overclock
สำหรับการจ่ายไฟนั้นทาง Asus จะแยกกันทำงานอย่างอิสระ ด้วยกันทั้งหมด โดยจะแบ่งเป็นไฟ VRing Vcore Vgt Vsa Vddr เพื่อการที่จะจูนไฟเวลา Overclock ได้นิ่งยิ่งขึ้นนั้นเองครับ
สำหรับในส่วนการควบคุมค่างๆนั้นจะมีชิพที่ความคุมเอาไวทั้งหมดทุกส่วนเลยทีเดียวทำให้ได้ค่าที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น
สำหรับนักโอเวอร์คล๊อกนั้นเมนูนี้เรียกว่าสำคัญมากๆเลยทีเดียวเพราะว่าเวลาเราเซตค่า Overclock ต่างๆสูงๆนั้นมักจะค้างที่หน้าโหลดวินโดวเพราะว่าบางทีการที่เราลากเยอะๆแล้ว cpu ไม่สามารถรันได้นั้นเองครับ ทำให้เครื่องค้างพอมีฟังค์ชันนี้ขึ้นมาทำให้เราเซตค่าไว้เวลาเปิดเครื่องนั้นเมนบอร์ดจะปรับค่าเอาไว้ที่ให้มันสามารถทำงานได้และพอเข้าไปสู่ตัววินโดวนั้นจะปรับกลับมาที่ความเร็วที่เราเซตเอาไว้อย่างรวดเร็วนั้นเองครับ
สำหรับในส่วนการ overclock นั้นจะมี 2 ชิพในการควบคุมด้วยกัน โดยจะมีชิพ TPU และชิพ Pro Bclk เพื่อทำการ Overclock ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดนจะเห็นว่า ถ้า cpu ใจถึง 5 GHz นั้นเมนบอร์ดพาไปได้แน่นอน
สำหรับในส่วนของเรื่องแรมนั้น แน่นอนว่ามันรองรับ โดยค่าไฟแรมเดิมๆนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1.2 V เท่านั้นโดยถ้าทำการ Overclock หรือเปิด XMP ที่บัสสูงๆ
สำหรับในส่วนของ ROG นั้นที่เปิดตัวมาจะมีด้วยกัน 4 รุ่นก่อนสำหรับอีกรุ่นหนึ่งนั้นทาง ASUS ยังไม่ได้บอกรายละเอียดอะไร
และรายละเอียดของรุ่นต่างๆของ Asus นั้นดูได้ตามภาพเลยครับ
เรื่องระบบเสียงนั้นทาง Asus ก็ได้จัดเต็มมาให้เช่นเดิม
สำหรับไฟของเมนบอร์ดนั้นก็สามารถเซตค่าเปลียนสีได้อีกด้วย เพราะว่า ณ เวลานี้ RGB กำลังจะครองโลกแล้ว หลังจากเนินนานไปเดียวเราไปดูบทความวันนี้ที่หน้า 2 กันต่อเลยดีกว่าครับ
สำหรับหน้ากล่องนั้นทาง Asus ก็ได้เลือกใช้งานแบบเดิมเดะๆไม่ได้มีการเปลียนแปลงอะไรเลยสักอย่างครับ สำหรับรุ่นนี้เรียกว่าเพิ่ม i มาอีกหนึ่งตัวเท่านั้น โดยถ้าสังเกตดีๆ เราจะเห็นว่าหน้ากล่องได้มีการเขียนว่ารองรับวินโดว 10 เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นวันนี้ผมจะทำการทดสอบบนวินโดว 10 นะครับ
แกะออกมาแล้วเรามาดูที่ของแถมกันก่อนดีกว่าครับสำหรับอุปกรณ์ต่างๆนั้น ทาง Asus ก็ได้มีสติเกอร์สุดเท่มาให้ โดยจะมีอุปกรณ์อื่นๆอีกเช่นคู่มือการใช้งาน ป้ายคล้องประตู แผ่นปิดช่อง I/O สาย Sata จำนวน 4 เส้น สาย SLI และอีกตัวที่เป็นของเล่นใหม่นั้นคืออุปกรณ์ช่วยในการใส่ cpu ให้ตรงล๊อกนั้นเองครับ
มาดูหน้าตาพระเอกของเรากันดีกว่าครับ สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ผมขอเรียกย่อๆว่า M8G นะครับ ในรุ่นนี้ก็จะมาในขนาด M ATX เช่นเดิมทุกครั้งแต่ฟังค์ชันก็จัดเต็มเอาใจขา Overclock เช่นเดิมครับ
สำหร้บในส่วนของภาคจ่ายไฟนั้นทาง Asus ก็ได้ให้มาทั้งหมด 10 เฟสด้วยกันครับ โดยมันรองรับการจ่ายไฟหนักๆได้อย่างสบายๆแน่นอน
ในส่วนของไฟเลี้ยง CPU นั้นทาง Asus ก็ได้ใช้งานไฟเลี้ยงเพิ่มเติมจำนวน 8 Pin ด้วยกันเพื่อจ่ายพลังงานให้ไปยัง cpu
สำหรับการติดตั้งแรมนั้นก็แน่นอนว่ามันรองรับเป็นแรมในส่วนของ DDR4 แล้วโดยรองรับบัสมากกว่า 3600 Oc+ และรองรับความจุมากถึง 64 GB ด้วยกันครับ
ถัดมาตรงมุมสักเล็กน้อยในส่วนนี้จะมีไฟแสดง Debug Code มาให้ด้วยครับ พร้อมทั้งปุ่ม Mem Ok เพื่อเคลียแรมเวลา Overclock ไม่ผ่านนั้นเอง
โดยขยับมาตรงมุมด้านบนอีกนิดจะเห็นจุดวันไฟเลี้ยงเพิ่มเติมมาให้อีกหนึ่งตำแหน่งครับ
แน่นอนว่าการติดตั้ง cpu นั้น รองรับ cpu ที่มาขา 1151 ขาด้วยกัน
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็รองรับการใช้งานกราฟิคการ์ดสูงสุดที่ 2 ใบ ด้วยกันครับ โดยรองรับทั้ง CF และ SLI ครับ
ในส่วนของระบบเสียงนั้นทาง Asus ก็ได้พัฒนา SupremeFX ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยรายละเอียดนั้นผมขอไม่พูดถึงเพราะได้บอกไปในหน้าแรกแล้ว
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ก็ยังมีปุ่มเปิดเครื่องหรือ Reset ตัวเครื่องบนเมนบอร์ดเอามาไว้ให้กดใช้งานได้อีกเวลาไม่ได้ใช้งานในเคสนั้นเองครับ พร้อมทั้งยังมีปุ่ม Retry และ Safe Boot เอามาให้ใช้งานเวลา overlclock อีกด้วยทำให้สามารถเปิดเครื่องได้เวลามีปัญหานั้นเองครับ
หลังจากที่ผมส่องอยู่นานมากๆเลยนั้นผมก็ได้เจอสวิตลับจนได้ครับนั้นก็คือการเปิดฟังค์ชัน Ln2 โหมด นั้นเอง ดังนั้นแปลว่าเมนบอร์ดรุ่นนี้เตรียมพร้อมให้ใช้งานกันแบบเย็นติดลบอย่างแน่นอน
ในส่วนของการเชื่อมต่อ Sata นั้นก็มีมาให้ครบครัน โดยจะเป็นช่อง Sata 3 ทั้งหมดเลยทีเดียว
โดยการควบคุมทั้งหมดนั้นจะอยู่ภายใต้ของตัวชิพ Z170 ที่อยูาภายใต้ฮิตซิงค์ตัวนี้ โดยฮิตซิงค์ตัวนี้เวลาเปิดใช้งานนั้นจะมีไฟขึ้นที่โลโกอีกด้วยครับ
สำหรับยุคนี้ก็คงไม่พ้นของช่อง M2 Sata ที่เรียกว่ามีมาให้ทุกเมนบอร์ดเลยทีเดียวต่อไปเราอาจจะไม่ต้องใช้งานเป็น SSD ที่ต้องเสียบสายไปมาแต่จะเสียบลงบนเมนบอร์ดเลยก็เป็นได้ครับ
สำหรับทางด้านหลังนั้นมาดูกันดีกว่าครับเริ่มจากซ้ายมาขวา โดยปุ่น 2 ปุ่มนี้จะมีหน้าที่ก็คือการเคลีย Bios คืนค่าสู่ค่าปกติ และอีกปุ่มคือการแฟรช Bios ลงไปใหม่โดยนำไฟล์ Bios ไปใส่ใน usb แล้วเสียบเข้าช่องสีแดงๆ usb อันนั้นแล้วทำการกดปุ่มเพียงเท่านี้ก็จะเป็นการแฟรช Bios นั้นเองครับ ส่วนด้านล่างของช่อง usb สีแดงนั้นจะเป็นช่อง USB 3.1 และ 3.0อีก 6 ช่อง ช่อง Display port hdmi และ Ps2 นั้นก็ยังคงมีมาให้ ช่องสาย Lan และช่องต่อออกลำโพงต่างๆนั้นเองครับ
Mainboard
|
asus maximus viii gene |
CPU
|
INTEL Core i5 6600K (es) |
CPU Cooler
|
Custom Watercooling |
Memory
|
Klevv 16 Gb 8*2 GB 2133 Mhz |
VGA
|
AMD R9 290X 4GB |
SSD
|
Ocz Vector 150 240 GB
|
SSD
|
———– |
Power Supply
|
CORSAIR AX 1500i
|
ก็เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับความแรงของเมนบอร์ดตัวนี้ ครั้งนี้อาจจะยังไม่ได้ทดสอบอะไรมากมายนักเพราะว่า cpu ที่ผมได้รับมานั้นมันก็ดวงไม่ดีเลยไม่สามารถลากอะไรไปได้ไกลมากนักแต่มันก็ทำให้เห็นว่า cpu ก็ยังเห็นหัวใจหลักที่วัดว่าจะได้ลากไกลแค่ไหน เมนบอร์ดเหมือนเส้นเลือดที่ส่งพลังงานให้หัวใจ ถ้าทั้ง 2 เข้ากันด้วยดีความแรงนั้นมาแน่นอน สำหรับครั้งหน้านั้น ถ้าเมนบอร์ดตัวนี้อยู่ผมจะทำการหา cpu ตัวใหม่และเทสและจัดหนักบน Ln2 ให้ได้รับชมกันอีกรอบ เรื่องความสามารถในการลากนั้นผมให้คะแนน 8 เต็ม 10 ที่ยังไมให้เต็มนั้นเพราะตัว Bios ที่ผมได้รับมาก็อาจจะยังไม่ใช่ตัวขายจริงยังไม่ค่อยสมบูรณ์นักเท่าไรแต่มันก็สามารถรีดประสิทธิภาพออกมาได้อย่างมาก บวกกับผมได้ทำการเทสบนวินโดส 10 อาจจะค่ายังไม่นิ่งเท่าไรนัก สำหรับวันนี้ผมนั้นก็คงต้องขอตัวลาไปก่อนสวัสดีครับ
You must be logged in to post a comment.