Review:ASUS PRIME X299-A ขาวๆใสๆวัยรุ่นชอบ
สวัสดีครับทุกๆท่านกลับมาเจอกันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ทางผมเคยรีวิวเมนบอร์ด X299 ไปแล้วหนึ่งรุ่นจากทาง ASUS เป็นรุ่น PRIME-DELUXE โดยรุ่นในวันนี้จะเป็นตัวรองลงมาคือ PRIME-A ฟังค์ชันการทำงานต่างๆนั้นจะเหมือนๆกันเกือบทั้งหมดแต่ตัว A จะตัดออฟชั่นต่างๆที่เป็นส่วนเสริมออกไปทั้งหมดเพื่อให้ราคาถูกลงอย่างเช่นจอ LED บอกสถานะของเมนบอร์ดจะใส่มาเป็นไฟ Dcode มาเหมือนเดิม และพอร์ตเชื่อมต่อทางด้านหลังเมนบอร์ดจะโดนเอาออกไปเหลือบางส่วน แต่ถ้าให้พูดกันตามตรง ผมเชื่อว่าแค่เจ้า PRIME A ตัวนี้ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ เรื่องของการจ่ายไฟ CPU นั้นต้องบอกว่าเหมือนกันกับรุ่นพี่ใหญ่แทบจะทั้งหมด เดียวเราไปดูหน้าตาเมนบอร์ดตัวจริงกันเลยดีกว่าครับ
Package & Bundle
สำหรับตัวแพ็คเกจนั้นทาง ASUS จะยังคงโทนสีขาวสำหรับเมนบอร์ดตระกูล PRIME
ASUS PRIME X299-A
สำหรับตัวเมนบอร์ด ASUS PRIME X299-A นี้จะมีขนาด ATX โดยตัวเมนบอร์ดนั้นจะใช้งานโทนสีขาวดำโดยจะเน้นสีขาวเป็นหลักของตัวเมนบอร์ดมากกว่า ดังนั้นใครที่กำลังมองว่าจะตกแต่งเคสเป็นสีขาวดำนั้นถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
CPU Support
สำหรับเรื่องของการรองรับการติดตั้ง CPU นั้นจะรองรับ CPU ที่ใช้งาน Socket 2066 ทั้งหมด โดยตอนนี้ทาง Intel มี CPU อยู่ 2 ตะกูลด้วยกันไม่ว่าจะเป็น intel kaby lake x หรือ intel skylake x ทั้ง 2 ตะกูลรองรับตั้งแต่ Core i5 ไปจนถึง Core i9 ที่จะออกมาในอนาคต โดยส่วนของภาคจ่ายไฟนั้นจะมีมาทั้งหมด 8 เฟสด้วยกัน ส่วนนี้ต้องบอกว่ามันดูน้อยไปสักหน่อยถ้าใครเทสระบบหนักๆหรือ CPU มีโหลดเยอะๆ หลายๆคนอาจจะได้ยินเสียงจี๋เล็กๆตรงส่วนของภาคจ่ายไฟ แต่ก็ไม่มีผลอะไรในการใช้งานครับ เรื่องของการเสียบสายไฟเลี้ยงจะใช้งานทั้งหมด 2 หัวแบ่งเป็นสายแบบ 8 Pin และ 4 Pin เสียบไปทางด้านบนของตัวเมนบอร์ดเพื่อจ่ายกระแสไฟเพิ่มให้ยัง CPU
Slot IO
สำหรับสล๊อตการเชื่อมต่อทางด้านบนนั้นจะมีช่อง M.2 ที่เอาไว้เสียบแนวตั้ง และช่อง USB 3.1 ที่จะเสียบสายไปทางด้านหน้าเคสครับ และข้างๆช่องเชื่อมต่อสายไฟเลี้ยง 24 Pin นั้นจะมีปุ่ม mem OK อยู่เอาไว้เวลาเราปรับค่าไทมิ่งแรม หรือ Overclock แล้วไม่สามารถบูธได้ ก็กดปุุ่มนี้ 1 ครั้ง ก็จะสามารถเปิดเครื่องได้เช่นเดิม
สำหรับช่องการเชื่อมต่อของตัวการ์ดจอ PCI-E นั้นจะมีทั้งหมด 6 ช่องด้วยกัน โดยจะแบ่งเป็น PCI-E 16x จำนวน 3 สล๊อต โดยทั้ง 3 สล๊อตนี้จะมีการเสริมความแข็งแรงของตัวสล๊อตมาให้ด้วยเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักของการ์ดจอ
สำหรับปุ่มบนเมนบอร์ดนั้นยังคงมีมาให้ใช้งานโดยจะมีแค่ปุ่มเปิดเครื่องเท่านั้น โดยทางด้านข้างจะมีไฟ Dcode มาให้เพื่อเอาไว้ดูว่าเวลาคอมเกิดปัญหานั้นมาจากส่วนไหน เรื่องของระบบเสียงทาง ASUS เองก็ยังคงใช้งานเป็นตัว Crystel Sound สำหรับเมนบอร์ดตระกูล PRIME โดยส่วนนี้ต้องบอกว่าทาง ASUS จะใช้งานระบบเสียงไม่เหมือนกันของเมนบอร์ดแต่ละตระกูลนะครับ ROG ก็จะเป็นอีกหนึ่งระบบแตกต่างกันไป
เรื่องของการติดตั้ง M.2 นั้นจะมีมาให้บางคนอาจจะไม่เห็นช่องตรงนี้ คิดว่ามีแค่ด้านบนด้านเดียว โดยตรงส่วนนี้จะอยู่ใต้ฮิตซิงค์ PCH ครับให้ทำการขันน๊อตออกมาจะสามารถติดตั้งลงไปได้ โดยแนะนำให้ติดตั้งตรงนี้เป็นตัวแรกเพราะมันใช้งานซิงค์ PCH เป็นส่วนช่วยระบายความร้อนของ M.2
โดยเมนบอร์ดนี้จะมีช่องสำหรับให้เชื่อมต่อไปยัง Sata ทั้งหมด 8 ช่องด้วยกัน
สำหรับช่องการเชื่อมต่อทางด้านหลังเมนบอร์ดนั้นก็ให้มาน้อยกว่าตัว PRIME-DELUXE ครับ แต่ถ้าใช้งานทั่วๆไปก็เพียงพอต่อความต้องการแล้วโดยจะมีปุ่มเคลีย Bios พร้อมทั้ง USB 2.0 จำนวน 2 ช่องด้วยกันและช่อง USB 3.0 จำนวน 4 ช่อง สุดท้ายจะเป็น USB 3.1 แบบ Type-A 1 ช่องและ USB 3.1 แบบ Type-C อีกจำนวน 1 ช่องด้วยกันครับ เรื่องของระบบ LAN นั้นจะมีช่อง RJ 45 มาให้ 1 ช่องและระบบเสียง มาอีก 1 ชุดตามภาพ
CPU
|
INTEL Core i7 7800X |
CPU Cooler
|
Aqua Kryos XT+TT Riing Plus 14 RGB+HTF4 |
Thermal Compound
|
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO |
Mainboard
|
ASUS X299 PRIME – A |
Memory
|
G.SKILL TridentZ RGB Series 16GB 3600 MHz CL16 |
VGA Card
|
PowerColor Red Devil RX580 Goldsample 8 GB |
SSD
|
OCZ VECTOR 180 480 GB |
SSD
|
Plextor M8Pe 256 GB |
HDD
|
WD Gold 8 TB |
Power Supply
|
CoolerMaster MASTERWATT 1200W MIJ
|
Chassis
|
DimasTech Easy XL |
OS
|
Windows 10 pro |
บรรยากาศขณะทำการทดสอบในวันนี้ ที่อุณหภูมิห้อง 28 องศาเหมือนเดิม
จบไปแล้วสำหรับการทดสอบในวันนี้ โดยวันนี้ทางผมได้ลองทำการทดสอบกับ CPU ที่เป็น Intel Skylake-X 7800X เพื่อจะได้ดูว่าถ้าใช้งานแบบแรม 4 แถวยังสามารถรันกับแรมที่ทำงานแบบ 4 แถวได้เป็นอย่างดีหรือไม่โดยจากการทดสอบนั้นต้องบอกว่าสบายๆเลยทืีเดียวแถมยังสามารถใช้งานที่บัสความเร็วสูงถึง 3600 MHz ได้อีกด้วยครับ เรื่องของการ Overclock นั้นวันนี้ผมอาจจะไม่ได้ลากไปไกลสักเท่าไรนักอยู่ที่ 4.8 GHz แต่มันก็สามารถแสดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างเต็มที่เลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นส่วนของการเล่นเกมส์หรือการใช้งานทั่วๆไป สามารถให้ความสเถียนมาก เรื่องของฟังค์ชันอย่างจอ LED ที่จะบอกสถานะนั้นก็อาจจะถูกถอดออกไปเนื่องจากราคาของตัวเมนบอร์ดที่ถูกกว่าตัวรุ่นพี่อยู่หลายพันเลยทีเดียว เลยให้มาเป็นไฟ DCode มาแทนครับ นอกจากนั้นก็ยังไม่มีอะไรน่าตื่นตาหรือแปลกใหม่ไปจากรุ่นพี่ตัวก่อนหน้านี้สักเท่าไร เอาเป็นว่าถ้าใครคติดว่าพอร์ดการเชื่อมต่อหรือฟังค์ชันที่ใช้งานของเมนบอร์ดตัวนี้เพียงพอแล้วละก็ จัดกันไปได้เลยครับ สำหรับวันนี้ทางผมก็ขอตัวลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้เอาไว้พบกันใหม่บทความหน้า สวัสดีครับ
You must be logged in to post a comment.