Review:ASUS ROG Strix Z270I Gaming บอร์ด mini-ITX ที่ตอบโจทย์ทุกความแรง

Review:ASUS ROG Strix Z270I Gaming บอร์ด mini-ITX ที่ตอบโจทย์ทุกความแรง

สวัสดีครับทุกท่านสำหรับวันนี้ทางผมก็มีเมนบอร์ดไซค์จิ๋วๆหรือขนาด ITX ที่เหมาะทำหรับคนชอบคอมพิวเตอร์คอมเล็กๆพกพาสะดวกหรือตั้งแบบไม่กินพื้นที่ภายในบ้านครับ แต่เชื่อว่าคน ที่ประกอบคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆนั้นยังอยากได้คอมที่แรงๆเช่นกันครับแน่นอนว่าเมนบอร์ด ITX ทั่วๆไปนั้นจะมีประสิทธิภาพในการใช้งานทั่วๆไปได้อย่างสบายๆแต่สำหรับฟีคเจอร์การ Overclock อาจจะไม่ตอบโจทย์ แต่วันนี้เจ้า ASUS Strix Z270I Gaming รอบนี้ทำออกมาตอบโจทย์คนอยากได้คอมพิวเตอร์เครื่องเล็กและแรงพร้อมฟีคเจอร์ Gaming แบบเต็มระบบ เอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

 

สำหรับตัวกล่องนั้นจะมาในขนาดมินิๆ ใหญ่กว่าเมนบอร์ดเพียงเล็กน้อยตามสไตล์ ITX ครับ โดยทางด้านหน้ากล่องก็ได้มีการบอกชื่อรุ่นเอาไว้ชัดเจณ โดยโคดตัวนี้จะเป็นตัว i หรือง่ายๆว่าย่อมาจาก ITX นั้นเองครับ

อย่างที่บอกไปครับว่าเมนบอร์ดตัวนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบ ITX ก็ตามทีแต่ฟีคเจอร์ไม่ว่าจะเป็นชิพเซตหรือการรองรับ AURA SYNC ก็ยังมีจัดมาให้ครบ

โดยทางด้านหลังของตัวกล่องนั้นจะมีบอกรายละเอียดและฟีคเจอร์ต่างๆเอาไว้ครบเลยทีเดียวและครับ ส่วนนี้ที่ผมสะดุดตามากที่สุดคือเรื่องของการรองรับบัสแรมที่ความเร็ว 4266 MHz เลยทีเดียวและครับ ถือว่ามันทำได้ดีกว่าเมนบอร์ดหลายๆตัวสะอีกครับ เพราะเมนบอร์ดตัวใหญ่ๆหลายๆรุ่นส่วนมากจะรับได้เพียง 3733-3866 Mhz เท่านั้นครับ

สำหรับคู่มือการใช้งานก็มีมาให้หนึ่งเล่มพร้อมทั้งสติเกอร์เอาไว้ติดภายในเคสเท่ๆ และแผ่น DVD ไดรเวอร์ครับ

สำหรับอุปกรณ์ต่างๆภายในกล่องนั้นจะมีสาย Sata มาให้ทั้งหมด 4 เส้นด้วยกันครับ พร้อมทั้งแผ่นปิดช่องหลังเคส I/O และสายซิงค์ RGB เข้ากับตัวเมนบอร์ด และชุดน๊อตเอาไว้ยึดอุปกรณ์ต่างๆครับ สุดท้ายจะเป็นเสาเอาไว้รับสัญญาน Wi-Fi ครับ

สำหรับตัวเมนบอร์ดพระเอกของงานนี้อาจจะดูเล็กไปนิดเพราะว่าเมนบอร์ดของเราในวันนี้เป็นขนาด ITX นั้นเองครับ ความใหญ่ก็ใหญ่กว่าฝามือเราเพียงเล็กน้อยเท่านั้นถือว่าเป็นเมนบอร์ดที่มีขนาดที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ PC ครับ

ถึงแม้ว่าเป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กก็ตามที่แต่ชุดภาคจ่ายไฟนั้นก็มีมาให้ทั้งหมด 8 เฟส ด้วยกันเพื่อจ่ายพลังงานให้กับ CPU  ส่วนนี้รองรับกา Overclock ไปที่ 5.0 GHz+ ได้แบบสบายๆอยู่ดีครับ

โดยภาคจ่ายไฟทางด้านหลังของเมนบอร์ดนั้นจะมีเขียน STRIX เอาไว้บงบอกซีรี่เอาไว้อย่างชัดเจนครับ

โดยการเชื่อมต่อไฟเลี้ยงไปยัง CPU นั้นจะใช้งานเป็นแบบ 8 PIN จำนวน 1 หัวเท่านั้นครับ

 

เรื่องของการ Overclock แรมหรือการรองรับนั้นจะติดตั้งได้ทั้งหมด 2 แถวด้วยกันครับและรองรับสูงสุดที่ 32 GB โดยจุดที่มันเด่นและพิเศษมากๆคือจะรองรับบัสแรมได้สูงมากถึง 4266 MHz เลยทีเดียว สำหรับส่วนนี้ผมได้ใช้งานแรมบัส 4000 MHz ในการทดสอบก็สามารถใช้งานได้ยาวๆสบายๆเลยทีเดียว

โดยปัญหาสำหรับเวลาเครื่องเปิดไม่ติดนั้นจะไม่มีไฟ Debug Code แต่อย่างใดครับ โดยจะเป็นไฟเม็ตเล็กๆแจ้งปัญหาแทนว่าติดที่ส่วนไหนตรงทางด้านบนสล๊อต

สำหรับการติดตั้ง HDD หรือพวกสาย Sata นั้นจะรองรับทั้งหมด 4 ช่องด้วยกันครับ

สำหรับตรงนี้จะเป็นฮิตซิงค์ระบายความร้อนตัวชิพเซตแต่ถ้าเราทำการขันน๊อตออกทั้งหมด 2 ตัว ทางด้านล่างจะสามารถติดตั้ง SSD แบบ M.2 ได้ครับโดยเมนบอร์ดตัวนี้จะติดตั้ง M.2 ได้ 2 ตัว ทางด้านหน้าและด้านหลังเมนบอร์ด

แน่นอนว่าเมนบอร์ดตัวนี้มีสล๊อต PCI-E มาให้เพียงหนึ่งช่องเท่านั้นโดยจะเป็นแบบ 16X สามารถติดตั้งการ์ดจอได้ทันที ส่วนนี้จะมีการเสริมแผ่นเหล็กดามสล๊อตเอาไว้ด้วยครับเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้น

เรื่องของระบบเสียงถึงแม้ว่าเมนบอร์ดมันเล็กจนแทบจะไม่มีที่แล้วก็ตามแต่ก็ยังมีการจัดเต็มแบบ SupremeFX  พร้อมชุดคาปาซิสเตอร์แบบ Gold อย่างดี

การเชื่อมต่อพอร์ตทางด้านหลัง I/O นั้นจะมี USB 3.1 เอาไว้ต่อไปทางด้านหน้าเคสและ USB 3.0 อีกจำนวน 3 พอร์ต usb type-c 1 พอร์ต usb 2.0 จำนวน 4 พอร์ต โดยเมนบอร์ดรุ่นนี้จะมีช่อง DisplayPort และ HDMI มาให้เพื่อสามารถใช้งานการ์ดจอ On CPU ได้ด้วยครับ และสุดท้ายจะเป็นช่องสำหรับต่อสายสัญญานเสียง

อย่างที่บอกไปว่าเมนบอร์ดตัวนี้สามารถติดตั้ง M.2 ได้ทั้งหมด 2 ตัวครับ อีกตัวจะอยู่ทางด้านหลังของเมนบอร์ด สามารถยึดติดได้ทันทีครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า