Review: Intel NUC Hades Canyon เมื่อฟ้า-แดงจับมือกัน กับ Mini PC สเปคเทพ

Review: Intel NUC Hades Canyon เมื่อฟ้า-แดงจับมือกัน กับ Mini PC สเปคเทพ

ว่ากันว่าคอมแบบ Mini PC มักไม่เหมาะกับการเล่นเกม ในตอนนี้ความเชื่อดังกล่าวใช้ไม่ได้แล้ว สำหรับเจ้า Intel NUC Hades Canyon ที่เลือกใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูง ผนวกกับชิปกราฟฟิก Vega M อันทรงพลัง วันนี้ Extreme PC ก็ได้เครื่องมารีวิวแล้ว จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยครับ

ทำความรู้จักกับ Intel NUC Hades Canyon

ก่อนที่เราจะไปดูการรีวิว มาทำความรู้จักกับเจ้า Intel NUC Hades Canyon กันก่อนนะครับ อุปกรณ์ในซีรี่ส์ Intel NUC นี้ จะเป็น Mini PC ที่ออกแบบมาให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และประหยัดพื้นที่ แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และเหมาะกับการนำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบครับ

อย่างไรก็ตาม แม้ซีพียูของ Intel NUC ตัวท็อปๆ จะมีประสิทธิภาพสูงจริง แต่จุดบอดสำคัญของมันกลับอยู่ที่ชิปกราฟฟิก หรือการ์ดจอ ซึ่งมักใช้เป็นแบบออนบอร์ด ทำให้การประมวลผลกราฟฟิกใน Intel NUC ยุคแรก ทำได้ไม่ดีเท่าไร

จนกระทั่งใน Intel ได้จับมือกับ AMD เพื่อนำชิปกราฟฟิก Radeon Vega M มาใช้ใน Intel NUC Hades Canyon ทำให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลดีขึ้น จนได้รับการยอมรับจากสื่อหลายๆ แห่งเลยล่ะครับ

 

EMIB กุญแจสำคัญของ Intel NUC Hades Canyon

เทคโนโลยี EMIB (embedded multi-die interconnect bridge) เกิดขึ้นจากแนวคิด MCM (multi-chip module) เพื่อเชื่อมต่อซีพียูและการ์ดจอเข้าด้วยกัน บน Interposer เดียวกัน (ลองนึกภาพตึกปิโตรนาสในมาเลเซีย ที่มีสะพานเชื่อมตึก)

 

เมื่อนำซีพียูและการ์ดจอมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ทำให้การส่งผ่านข้อมูลเป็นได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การ์ดจอ หรือชิปกราฟฟิกเอง ก็ยังเชื่อมต่อกับแรมการ์ดจอ ด้วยเทคโนโลยี EMIB เช่นเดียวกันครับ

และเทคโนโลยีนี้เอง ทำให้ Intel สามารถออกแบบบอร์ดคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเล็ก ประหยัดพลังงาน ในขณะที่ยังให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีเยี่ยม

 

เริ่มต้นรีวิวกับ Intel NUC Hades Canyon

สำหรับรุ่นที่นำมารีวิวนั้น คือ Intel NUC8i7HVK ซึ่งเป็นรุ่นท็อปสุดของซีรี่ส์ปี 2018 นอกจากนี้ก็ยังมีรุ่นเล็กกว่าคือรุ่น Intel NUC8i7HNK โดยสเปคทั้ง 2 รุ่น จะมีดังตารางนี้เลยครับ

Aspect Hades Canyon Skull Canyon
NUC8i7HVK NUC8i7HNK NUC7i7KYK
CPU Intel Core i7-8809G
Kaby Lake, 4C/8T
3.1GHz (up to 4.2GHz), 14nm+, 8MB L2
100W Package TDP
Intel Core i7-8705G
Kaby Lake, 4C/8T
3.1GHz (up to 4.1GHz), 14nm+, 8MB L2
65W Package TDP
Intel Core i7-6770HQ
Skylake, 4C/8T
2.6GHz (up to 3.5 GHz), 14nm, 6MB L2
45W TDP
Graphics Radeon RX Vega M GH
24 CUs, 64 PPC
1063-1190MHz GPU, 800MHz Memory
4GB / 1024-bit HBM2
On-Package
Radeon RX Vega M GL
20 CUs, 32 PPC
931-1101MHz GPU, 700MHz Memory
4GB / 1024-bit HBM2
On-Package
Intel Iris Pro Graphics 580
On-Die
128MB eDRAM
Memory 2x DDR4 2400+ SODIMMs
1.2V, 32GB max.
2x DDR4 2133+ SODIMMs
1.2V, 32GB max.
Storage 2x M.2 22×42/80 (key M) SATA3 or PCIe 3.0 x4 NVMe/AHCI SSD
RAID-0 and RAID-1 Supported
I/O Ports 2x Thunderbolt 3 (rear)
4x USB 3.0 Type-A (rear)
1x USB 3.1 Gen 2 Type-C (front)
1x USB 3.1 Gen 2 Type-A (front)
1x USB 3.0 Type-A Charging Port (front)
1x SDXC UHS-I Slot (front)
CIR (front)
2x USB 3.0 / 2x USB 2.0 internal headers
1x Thunderbolt 3 (rear)
2x USB 3.0 Type-A (rear)
1x USB 3.0 Type-A (front)
1x USB 3.0 Type-A Charging Port (front)
1x SDXC UHS-I Slot (front)
CIR (front)
2x USB 3.0 / 2x USB 2.0 internal headers
Networking 2x Gigabit RJ-45 (Intel i219-LM and i210-AT)
Intel Dual Band Wireless-AC 8265 M.2 2230 (2×2 802.11ac – 867 Mbps)
Bluetooth 4.2
1x Gigabit RJ-45 (Intel i219-LM)
Intel Dual Band Wireless-AC 8260 M.2 2230 (2×2 802.11ac – 867 Mbps)
Bluetooth 4.2
Display Outputs 1x HDMI 2.0a (front)
1x HDMI 2.0a (rear)
2x mini-DP (DisplayPort 1.3) (rear)
2x USB-C (via Thunderbolt 3 ports, rear)
1x mini-DP (DisplayPort 1.2) (rear)
1x HDMI 2.0a (rear)
1x USB-C (via Thunderbolt 3 port, rear)
Audio 7.1 digital (over HDMI and DisplayPort); L+R+mic (F); L+R+TOSLINK (R)
Audio Codec Realtek ALC700 Realtek ALC233
Enclosure Metal and plastic
Kensington lock with base security
Power Supply 230W (19V @ 12.1A) Adapter 120W (19V @ 6.32A) Adapter
Dimensions 21mm x 142mm x 39mm / 1.2L 216mm x 116mm x 23mm / 0.69L
Miscellaneous Features Replaceable lid with customizable RGB LED illumination
Status LEDs in front panel
Quad beam-forming microphone array
VESA mounting plate
3-year warranty
Replaceable lid
Status LEDs in front panel
VESA mounting plate
3-year warranty

 

จะเห็นได้ว่า สเปคแทบจะเหมือนกันทั้ง 2 รุ่น แต่แตกต่างกันที่ซีพียู และการ์ดจอ Vega M ซึ่งวันนี้ผมไม่ได้มีผลการทดสอบของรุ่นเล็กมาเปรียบเทียบด้วย ต้องขออภัยอย่างสูงครับ

Intel NUC Hades Canyon

 

เอาล่ะ ถึงเวลาแกะกล่อง ต้องบอกเลยว่าข้อดีอย่างหนึ่งของ Intel NUC ทุกๆ รุ่น คือ พอร์ตเยอะมาก มีมาให้อย่างครบครัน มีพอร์ตอะไรบ้าง ก็ดูได้จากรูปทางด้านล่าง หรือจากตางรางสเปคทางด้านบนเลยครับ

 

 

รอบๆ ตัวเครื่อง จะเห็นได้ว่ามีการเจาะรูระบายอากาศมาให้ค่อนข้างเยอะ มั่นใจได้เลยว่าไม่เกิดความร้อนสะสมอย่างแนะนอน แถม Intel ยังใส่ใจในทุกรายละเอียด ทำปุ่มยางที่ฐานของตัวเครื่อง เพื่อป้องกันการลื่นไถลของเครื่องด้วยครับ

 

ในกล่องจะมี Adapter จาก LITEON มาด้วย ใช้ต่อเชื่อเครื่องกับไฟบ้านได้ตามปกตินะครับ (แต่ไม่ได้ใช้ชาร์จแบตเหมือนในโน้ตบุ๊กนะจ๊ะ)

 

เปิดเครื่องกันหน่อย สังเกตที่ตัวเครื่องทางด้านบนไว้ดีๆ นะ ในตอนแรกพื้นที่ครึ่งหนึ่งจะมี dot texture นูนๆ แต่มีพื้นที่อีกครึ่งหนึ่งของด้านบน เป็นพื้นสีดำโล่งๆ รู้หรือไม่มีมันคืออะไร

 

นี่ไง!! มันมี LED รุปหัวกะโหลกซ่อนอยู่ เมื่อเปิดเครื่องเจ้าหัวกะโหลกนี่ก็จะโผล่ขึ้นมา และสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อยๆ ก็ดูเท่ไปอีกแบบนะ

 

ทดสอบประสิทธิภาพของ Intel NUC Hades Canyon

ไม่พูดพร่ำทำเพลง ขอทดสอบเลยละกัน เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ก็จะมีการทดสอบอยู่หลายๆ แบบ ไปดูกันทีละอย่างเลยครับ

CPU-Z

อันดับแรกเราก็ต้องเช็คสเปคของซีพียูและการ์ดจอก่อน สำหรับ Intel NUC8i7HVK ตัวนี้ จะใช้ซีพียู Intel Core i7-8809G สถาปัตยกรรม Kaby Lake 14nm+ มีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads ความเร็วเริ่มต้นที่ 3.1 GHz และบูสต์ได้สูงสุดที่ 4.0 GHz

นอกจากนี้ยังรองรับการ Overclock แต่!! เนื่องจากเจ้า NUC เนี่ย ระบบระบายความร้อนมันอาจจะไม่ดีมากนัก เพราะฉะนั้น ขอบอกไว้เลยว่า มันไม่เหมาะที่จะทำการ Overclock ครับ

ถัดมาก็เป็นการ์ดจอ ในรุ่น Intel NUC8i7HVK จะใช้การ์ดจอ Radeon RX Vega M GH ความเร็ว 1063-1190 MHz พร้อมด้วยแรมการ์ดจอแบบ HBM2 4GB

ส่วนแรมที่ให้มาในตัวเครื่อง ก็จะเป็นแรม DDR4-2400MHz แบบ Dual channel ทั้งหมด 16 GB แต่เราสามารถอัพเกรดเพิ่มได้สูงสุดที่ 32 GB ครับ

 

จากการทำสอบ Benchmark คร่าวๆ ของ CPU-Z ก็พบว่าประสิทธิภาพของ Intel Core i7-8809G นั้น ใกล้เคียงกับ Core i7-6700K ที่ความเร็ว 4.0 GHz เลยทีเดียว

 

Cinebench R15

ยังอยู่ที่การทดสอบประสิทธิภาพของซีพียูนะครับ ในการทดสอบจะไม่ได้มีการ Overclock ใดๆ ปล่อยให้เครื่องทำงานตามปกติ ก็จะได้คะแนนออกมาดังภาพ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี จะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หรือตัดต่อวิดีโอเล็กน้อยๆ ก็ทำได้ดีเลยครับ

 

Synthetic Benchmark

สำหรับการทดสอบด้วยโปรแกรมจากค่าย 3DMark นะครับ ก็จะเน้นในเรื่องของการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดจอเป็นหลัก เราจะมาดูกันว่าการ์ดจอ Vega M GH นั้น จะให้ประสิทธิภาพดีขนาดไหน ไปดูผลในแต่ละการทดสอบได้ ดังนี้

Time Spy/Time Spy Extreme

Time Spy จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดจอบน DirectX 12 API จากที่เช็คดู ประสิทธิภาพของ Vega M GH จะอยู่กลางระหว่าง GTX 1060 6GB และ GTX 1050 Ti

 

Fire Strike/Fire Strike Extreme/Fire Strike Ultra

Fire Strike จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดจอบน DirectX 11 API จากที่เช็คดูแล้ว ประสิทธิภาพจะอยู่ใกล้เคียงกับ GTX 1050/1050 Ti ครับ

 

Sky Driver

Sky Driver จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดจอบน DirectX 11 API สำหรับโน้ตบุ๊ก และคอมพิวเตอร์สเปคกลางๆ จากที่เช็คดูแล้วประสิทธิภาพจะอยู่ใกล้เคียงกับ GTX 1050 ครับ

 

Cloud Gate

Cloud Gate จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดจอบน DirectX 11 API สำหรับโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์สเปคล่าง จากที่เช็คดูแล้วประสิทธิภาพจะอยู่ใกล้เคียงกับ GTX 1050 ครับ

 

Ice Storm/Ice Storm Extreme

Ice Storm จะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของการ์ดจอบน DirectX 11 feature level 9 API สำหรับสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต (รุ่น Extreme จะเป็นมือถือระดับ Mainstream ส่วนรุ่นทั่วไปจะเป็นมือถือ Low-cost) จากที่เช็คดูแล้วประสิทธิภาพจะอยู่ใกล้เคียงกับ GTX 1050 ครับ

 

PCMark 8 Home 3.0 Accelerated

Home Accelerated เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานทั่วไปของอุปกรณ์ ก็จะมีตั้งแต่การเข้าเว็บ, พิมพ์งาน, การตกแต่งภาพ, เล่นวิดีโอ/วิดีโอแชท และ เกมแคชชวล จากที่เช็คดูแล้วประสิทธิภาพจะอยู่ใกล้เคียงกับ GTX 1050 ครับ

การทดสอบด้วยโปรแกรมเหล่านี้ บ่งบอกว่าประสิทธิภาพของชิปกราฟฟิก Vega M GH นั้น มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับการ์ดจอ GTX 1050/1050Ti อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า ในการทดสอบผ่าน DirectX 12 API นั้น กลับได้คะแนนดี เบียด 1060 6GB เลยทีเดียว

 

ทดสอบกับการเล่นเกม

สุดท้ายจะเป็นทดสอบการเล่นเกม เพื่อให้ได้ผลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยเกมที่หยิบมาใช้ทดสอบ ได้แก่ Batman Origin, Ghost Recon Wildlands, Tomb Raider และ FarCry 5 โดยทุกเกมจะตั้งค่าที่ความละเอียดระดับ Full HD ส่วน Preset ของเกมเกือบทุกเกม จะอยู่ที่ระดับ High ยกเว้น Tomb Raider ที่จะตั้งค่าไปไว้ระดับ Ultra ครับ

จากการค้นหาผลการทดสอบเพื่อเปรียบกัน พบว่า Radeon RX Vega M GH ตัวนี้ มีประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง GTX 1050 Ti และ GTX 1060 6 GB ครับ

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลทดสอบของเจ้า Intel NUC Hades Canyon ตัวนี้นะครับ ถ้าใครสนใจ ตอนนี้ทาง JIB มีวางจำหน่ายแล้ว โดยรุ่น Intel NUC8i7HVK ตัวท็อป ที่ใช้ในการรีวิว จะมีราคาอยู่ที่ 32,400 บาท ส่วนรุ่นเล็ก Intel NUC8i7HNK จะมีราคาอยู่ที่ 28,500 บาทครับ พร้อมด้วยประกันอีก 3 ปีเลยทีเดียว

ใครที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะทำงาน ให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ดีใกล้เคียงกับเครื่องคอมขนาดใหญ่ Intel NUC Hades Canyon คือตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดในขณะนี้เลยครับ

Related articles

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า