Review:Noctua NH-L9a-AM4 ฮิตซิงค์แบบ Low-Profile ตอบโจทย์คนชอบของเล็กมินิสไตล์ ITX

Review:Noctua NH-L9a-AM4 ฮิตซิงค์แบบ Low-Profile ตอบโจทย์คนชอบของเล็กมินิสไตล์ ITX

สำหรับตัวกล่องนั้น เอาตรงๆตกใจมากคือบางมากอย่างกับกล่องพัดลม 1 ตัวแค่นั้นครับ ส่วนนี้ถือว่าเป็น Low Profile อย่างแท้จริง แต่ทว่าทางด้านหน้ากล่องนั้นมีการระบุมาเอาไว้อย่างชัดเจณว่ารองรับแค่ AM4 เท่านั้นถ้าจะใช้งานกับซ๊อกเกตอื่นๆนั้นอาจจะต้องหาขายึดหรือขาแปลง สามารถสั่งซื้อได้ครับ เรื่องของการระบายความร้อนส่วนนี้อย่าคาดหวังว่ามันจะเย็นกว่าซิงค์เดิม เพราะจริงๆแล้วเขาออกแบบให้ติดตั้งกับเคสที่มีพื้นที่จำกัดนั้นเองครับ

เปิดฝากล่องออกมา แค่เปิดก็รับรู้ได้ถึงความเป็นพรีเมียมเลยทีเดียวและครับ ภายในกล่องนั้นมีการจัดพื้นที่มาสวยงาม แต่ละอย่างวางไว้ลงตัวชัดเจนมากๆ

โดยเดียวมาดูอุปกรณ์ต่างๆภายในกล่องก่อนครับ อย่างแรกเลยคือเพลทหลังเอาไว้ยึดฮิตซิงค์เข้ากับตัวเมนบอร์ด ถัดมาจะเป็นซิลิโคนระบายความร้อนเอาไว้ทาที่หน้าสัมผัส CPU ส่วนนี้ต้องบอกว่าให้มาหลอดใหญ่มากๆเลยทีเดียวเก็บเอาไว้ใช้งานได้อีกนานต่อมาเป็นสาย 4 pin to 4 pin สำหรับสายนี้จะเป็นสายเอาไว้ลดรอบของพัดลมครับ ส่วนน๊อตยาวๆ เอาไว้เผื่อเปลียนให้พัดลมหนาขึ้น ก็ให้มาใช้งานน๊อตยาวขึ้น และก็แผ่นเหล็กสติเกอร์เอาไว้สวยงาม

สำหรับตัวพัดลมนั้นมาในขนาด 9 ซ.ม. จำนวน 1 ตัวครับ โดยพัดลมชุดนี้จะเป็นแบบรุ่นบางพิเศษ มีรอบการทำงานสูงสุดที่ 2500 RPM ด้วยกันครับ และถ้าต่อสายลดรอบนั้นจะวิ่งอยู่ที่ 1800 รอบครับ

สำหรับความหนาของพัดลมนั้นอยู่เพียง 1.5 ซ.ม. ถือว่าเป็นพัดลมแบบบางมากๆครับ

โดยพัดลมนั้นจะเป็นแบบ 4 Pin เสียบลงบนเมนบอร์ดได้เลย

โดยฮิตซิงค์รุ่นนี้ถ้าดูดีๆเราจะเห็นว่ามีท่อฮิตไปป์มาให้ด้วยขนาด เป็นฮิตซิงค์แบบบางก็ยังมีมาให้ โดยจริงๆแล้วจะมีเพียง 1 เส้นเท่านั้นมาเป็นแบบตัว U ขดไว้อยู่ด้านใน

เรื่องของหน้าสัมผัสนั้นต้องบอกว่าเป็นเอกลักษณ์ของทาง Noctua ครับ มีการขัดเรียบเป็นแบบวงกลมๆเงาๆมาครับ

ความห่างของฮิตซิงค์นั้นสามารถใส่ได้ครบ 4 สล๊อตหรือถ้าเป็นเมนบอร์ด itx ก็สามารถติดตั้งได้ครบ 2 แถว โดยไม่เบียดแรมแต่อย่างใดครับ ตรงนี้สบายใจได้เลยไม่ว่าแรมจะสูงขนาดไหนก็ติดตั้งได้แน่นอน

มองลงไปนั้นจะเห็นว่าแทบจะราบเรียบลงไปกับเมนบอร์ดเลย

สำหรับประสิทธิภาพระบายความร้อนอาจจะไม่ได้เย็นแบบคาดหวังอะไรมากมายนะครับเพราะมันออกแบบมาเน้นเรื่องของพื้นที่จำกัด หรือเป็นฮิตซิงค์แบบ Low-Profile นั้นเอง ส่วนนี้ ทำให้ฮิตซิงค์มีขนาดที่เล็กกว่าฮิตซิงค์จากทาง AMD ด้วยซ้ำไป และการทดสอบวันนี้ผมก็ได้หา CPU รุ่นใหญ่ที่สุดของ AM4 หรือเป็นตัว Ryzen 7 1800X ที่มีความแรงสูงและกินไฟมากที่สุดบนซ๊อกเกต AM4 มันก็ยังสามารถคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 80 องศาได้อย่างสบายๆ ส่วนถ้าใครใช้งาน CPU รุ่นที่ต่ำกว่านี้ก็ใช้งานได้แน่นอนครับเพราะเย็นกว่านี้แน่ๆ ส่วนเรื่องของการ Overclock นั้นตัดทิ้งไปได้เลยผมไม่ขอทำให้ดูเพราะความร้อนถือว่าเยอะมากแล้วครับ ก็ถือว่าเป็นฮิตซิงค์แบบ Low Profile อีกตัวที่น่าสนใจมากๆไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการระบายความร้อนหรือการติดตั้งในพื้นที่จำกัดแคบๆ ความเข้ากันได้กับแรมทรงสูง ทุกอย่างมันตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีในตัวมันเองครับ สำหรับวันนี้ทางผมขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า