Review: Noctua NH-U12S TR4-SP3 พี่คนกลางที่จะมารับกับความแรง Threadripper

บรรยากาศในการทดลองใช้งาน Noctua NH-U12S TR4-SP3

มีใครสังเกตเห็นอะไรในภาพบนและล่างนี้บ้างไหนเอ่ย? ใช่แล้วครับ! การทดสอบประสิทธิภาพในครั้งนี้ จะมีทั้งการใช้พัดลมแบบ Single-fan ตามแพคเกจของ Noctua ที่ให้มา และผลการทดสอบเมื่อใส่พัดลมตัวที่ 2 เข้าไปด้วย เดี๋ยวเรามาดูกันนะครับว่าประสิทธิภาพจะต่างกันแค่ไหน

 

ในส่วนของการทดลองประสิทธิภาพในการระบายความร้อนนะครับ ผมได้ทำการทดสอบในห้องอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส สำหรับสเปคของเครื่องที่ใช้ในการทดสอบ หลักๆ คือซีพียู AMD Ryzen Threadripper 1920x และเจ้าฮีตซิงค์ Noctua NH-U12S TR4-SP3

CPU
AMD Threadripper 1920x
CPU Cooler
Noctua NH-U12S TR4-SP3
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
ASRock X399 Taichi
Memory
G.Skill Trident Z RGB 3600 MHz 32 GB CL16
VGA Card
ASUS ROG Strix Vega 64
SSD
Plextor m8pe 256GB
SSD
WD Blue 1 TB
HDD
WD Gold 8 TB
Power Supply
Cooler Master 1200w mij
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

 

ผลการทดสอบ Noctua NH-U12S TR4-SP3 แบบ Single-fan

ก่อนการโอเวอร์คล็อก ซีพียู AMD Ryzen Threadripper ความเร็ว 3.7 GHz ทำ Stress test ด้วยโปรแกรม AIDA64 เมื่อตรวจสอบอุณหภูมิด้วยโปรแกรม CPUID HWMonitor พบว่ามีอุณหภูมิสูงสุดที่ 65 องศาเซลเซียส

 

หลังการโอเวอร์คล็อก ซีพียู AMD Ryzen Threadripper ความเร็ว 4.0 GHz (3997 MHz) ทำ Stress test ด้วยโปรแกรม AIDA64 เมื่อตรวจสอบอุณหภูมิด้วยโปรแกรม CPUID HWMonitor พบว่ามีอุณหภูมิสูงสุดที่ 68 องศาเซลเซียส

จะเห็นได้ว่า ในแพคเกจแบบ Single-fan หลังการโอเวอร์คล็อกแล้ว ซีพียูมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียง 3 องศาเซลเซียสเท่านั้น (68 องศาเซลเซียส) หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ซึ่งถือว่าเพียงแค่ใช้แพคเกจแบบ Single-fan หรือพัดลมเพียงตัวเดียว ก็สามารถระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี แถมอุณหภูมิทั้งก่อนและหลัง ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอีกด้วยครับ

 

ผลการทดสอบ Noctua NH-U12S TR4-SP3 แบบ Dual-fan (เพิ่มพัดลม NF-F12 industrialPPC-3000 PWM 3000 รอบ)

ถัดมาเรามาดูกันว่า เมื่อเพิ่มพัดลมตัวที่ 2 เพื่อให้ฮีตซิงค์สามารถระบายความร้อนได้แบบ Push/Pull แล้ว ประสิทธิภาพจะดีขึ้นแค่ไหน สำหรับในการทดลองนี้ ได้มีการเลือกพัดรุ่น NF-F12 industrialPPC-3000 PWM สามารถใส่ร่วมกับฮีตซิงค์รุ่นนี้ได้ครับ เอาล่ะ เรามาดูผลการทดสอบกันเลยดีกว่า

ก่อนการโอเวอร์คล็อก ซีพียู AMD Ryzen Threadripper ความเร็ว 3.7 GHz ทำ Stress test ด้วยโปรแกรม AIDA64 เมื่อตรวจสอบอุณหภูมิด้วยโปรแกรม CPUID HWMonitor พบว่ามีอุณหภูมิสูงสุดที่ 57 องศาเซลเซียส

 

หลังการโอเวอร์คล็อก ซีพียู AMD Ryzen Threadripper ความเร็ว 4.0 GHz (3999 MHz) ทำ Stress test ด้วยโปรแกรม AIDA64 เมื่อตรวจสอบอุณหภูมิด้วยโปรแกรม CPUID HWMonitor พบว่ามีอุณหภูมิสูงสุดที่ 70 องศาเซลเซียส

จากการทดสอบในแพคเกจแบบ Dual-fan (เพิ่มพัดลมตัวที่ 2) จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมา 13 องศาเซลเซียส หรือประมาณร้อยละ 22 ซึ่งถือว่าอุณหภูมิยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เพราะถ้าเพื่อนๆ สังเกตดีๆ จะเห็นว่าความเร็วในหน่วย MHz ของซีพียูตอนโอเวอร์คล็อก ในแพคเกจ Single-fan จะน้อยกว่า Dual-fan อยู่เล็กน้อยครับ ทางด้าน Dual-fan จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาบ้าง

 

ความรู้สึกหลังการใช้งาน

จากการใช้งานที่ผ่านมานะครับ Noctua NH-U12S TR4-SP3 มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากมีหน้าสัมผัสซีพียูที่กว้าง พร้อมด้วยแผงอะลูมิเนียม และพัดลมที่มีขนาด 120 มิลลิเมตร อีกทั้งทางผู้ผลิตยังได้แถมสาย Low-noise adapter มาให้ด้วย ช่วยให้พัดลมทำงานได้อย่างเงียบเชียบ ไม่เกิดเสียงรบกวนในระหว่างเล่นคอมพิวเตอร์ครับ

 

เพราะฉะนั้น ใครที่กำลังมองหาฮีตซิงค์สำหรับซีพียู AMD Ryzen Threadripper และต้องการฮีตซิงค์ที่หน้าสัมผัสกว้าง พร้อมพัดลมขนาดใหญ่จุใจ ไม่ว่าจะโอเวอร์คล็อกซีพียู หรือนำไปขุดเหมือง ก็ระบายความร้อนได้สบายหายห่วง ขอแนะนำเจ้า Noctua NH-U12S TR4-SP3 แล้วคุณจะไม่ผิดหวัง และพิเศษ Noctua ยังรับประกันสินค้าเต็มถึง 6 ปีเลยทีเดียว !!

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า