[รีวิว] Plextor M8VC 512 GB – SSD ประสิทธิภาพสูง ราคาประหยัด อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีจากผู้ผลิต

Benchmark

AS SSD

ว่าแล้วเรามาดูผลทดสอบกันบ้าง อันดับแรกจะเป็นผลทดสอบจากโปรแกรม AS SSD ซึ่งเป็นโปรแกรม benchmark สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่นิยมใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ โดยผมได้นำสเกลของข้อมูลมาให้ดู ทั้งแบบ MB/s และแบบ IOPS

ความเร็วที่ได้จากการอ่าน-เขียนแบบ Sequential พบว่า Plextor M8VC SSD ทำได้ 530.06 MB/s และ 495.11 MB/s ตามลำดับ ถือว่าทำออกมาได้ดีเลยทีเดียว

สำหรับค่า IOPS จะบ่งบอกถึงจำนวนของไฟล์ที่ SSD สามารถจัดการได้ใน 1 วินาที เมื่อแปลงผลมาเป็นแบบ IOPS ลองดูที่ส่วน 4K-64Thrd จะพบว่ามีค่าการอ่าน-เขียนอยู่ที่ 88448 IOPS และ 49881 IOPS ตามลำดับ ซึ่งทำออกมาได้ดีเช่นกัน (ใครลืมสเปคที่ผู้ผลิตกำหนดมา ลองเลื่อนกลับไปอ่านดูข้างบนนะครับ)

 

AIDA64

โปรแกรมทดสอบตัวถัดมา คือ AIDA64 ซึ่งเป็นชุดโปรแกรมที่มี benchmark ของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมาให้ด้วย แต่จะมีเฉพาะประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลบน SSD เท่านั้นนะครับ

ผลที่ได้พบว่าการอ่านข้อมูล จะมีความเร็วอยู่ที่ 528-529 MB/s แม้จะไม่เร็วถึงจุดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ (560 MB/s) แต่ก็ไม่ได้น้อยจนเกินไป เท่านี้ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ

 

HD Tune Pro 5.70

ถัดมาเป็นผลการทดสอบจากโปรแกรม HD Tune Pro 5.70 ซึ่งผมจะทำการทดสอบทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ Benchmark, Extra tests, Random Access และ File Benchmark

ผลการทดสอบแรกจากส่วน Benchmark ตรงนี้ผมได้ผลมาแค่การอ่านข้อมูลของ SSD ซึ่งค่าที่ได้อยู่ประมาณ 390.9 MB/s บางคนอาจสงสัยว่าทำไมมันได้ค่าน้อย อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าโปรแกรมแต่ละตัว มีการอ่านปริมาณข้อมูลขนาดไหนบ้าง ถ้าข้อมูลขนาดต่างกัน ผลทดสอบที่ได้ย่อมต่างกันนั่นเอง

ในส่วน Extra tests จุดที่ผมจะให้เพื่อนๆ นำไปเปรียบเทียบคือ Random seek/ size 8 MB ซึ่งเป็นการทดสอบที่คล้ายๆ กับโปรแกรม AIDA64 ใน HD Tune นี้ ผลการทดสอบ ได้ความเร็ว 528.228 MB/s ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับที่ทดสอบใน AIDA64 เลยครับ

ทางด้าน Random Access อันนี้จะเป็นความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล โดยโปรแกรม HD Tune จะมีการกำหนดขนาดข้อมูลที่จะอ่านต่างกันไป แน่นอนว่าเมื่อขนาดข้อมูลต่างกัน ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลก็จะแตกต่างกันไปด้วย แต่ผมที่ได้จากการทดสอบ Plextor M8VC SSD ทำได้ดีทั้งข้อมูลขนาดใหญ่และขนาดเล็กครับ

และสุดท้ายกับการทดสอบ File Benchmark จะเป็นส่วนที่มีทั้งการอ่านและการเขียน ผลการทดสอบที่ได้พบว่า การอ่าน-เขียนข้อมูลแบบ Sequential มีความเร็วอยู่ที่ 512.852 MB/s และ 470.826 MB/s ครับ

 

PCMark8

สำหรับโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลตัวสุดท้าย PCMark 8 ต้องยกให้เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กัน เพราะมีความแตกต่างจากโปรแกรมทดสอบทั่วไป ตรงที่ PCMark 8 จะให้ผลค่อนข้างใกล้เคียงกับการใช้งานนโปรแกรมในความเป็นจริงนั่นเอง

แม้จะเป็น SSD แบบ TLC แต่ Plextor M8VC ทำให้เห็นว่าประสิทธิภาพไม่ได้ด้วยไปกว่า SSD รุ่นใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีชิปแบบ 64-layer ทำให้ได้ SSD ที่มีประสิทธิภาพต่อราคาที่คุ้มค่า อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อกับพอร์ต SATA แบบเดิมๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยี LDPC จาก Plextor ทำให้ M8VC SSD มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว รองรับการใช้งานทั้งหนักทั้งเบา ถูกใจเหล่าเกมเมอร์อย่างแน่นอนครับ แถมยังมีประกันอีก 3 ปีเชียวนะ จะพลาดได้อย่างไร!

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า