Review: Plextor M9Pe(Y) 512 GB เก็บข้อมูลให้สวยงามด้วย RGB

Review: Plextor M9Pe(Y) 512 GB เก็บข้อมูลให้สวยงามด้วย RGB

 

เรื่องราวของการเก็บข้อมูลในรูปแบบ SSD นั้นต้องบอกว่ายังไม่จบ เพราะทาง Plextor ยังมีรุ่นที่แบบคนอยากใช้งานแต่ช่อง M.2 ไมมีก็จัดตัวที่เป็นแบบ PCI-E Card มาให้ได้ใช้งานกันครับ โดยเอาจริงๆแล้วต้องเกริ่นบอกก่อนว่ามันเป็นตัวเก็บข้อมูลที่เป็น M.2 แท้ๆที่เราติดตั้งบนสล๊อตนี้และครับ แต่ทว่าเขาได้ติดตั้งลงในการ์ด PCI-E เพื่อให้คอมพิวเตอร์รุ่นอื่นๆใช้งานได้ด้วยนั้นเอง และที่สำคัญ ในเมื่อมาเป็นการ์ดแบบนี้แล้วก็ต้องบอกว่ามีไฟ RGB มาให้ด้วย เพราะอะไรๆในคอมพิวเตอร์ที่เป็นรุ่นใหม่ๆต้องมาพร้อมกับไฟ RGB  แต่เรื่องของแสงไฟนั้นต้องบอกก่อนว่าตัวนี้เราไม่สามารถปปรับเรื่องของสีไฟตามใจชอบของเราได้นะครับจะเป็นแบบสีไฟเปลียนไปเรื่อยๆ และเวลามีการเขียนข้อมูลแสงไฟจะเป็นเหมือนไฟสีๆวิ่งเพื่อบอกว่าตัวนนี้เจ้าตัว SSD มีการเขียนหรืออ่านข้อมูลอยู่นั้นเอง พูดมาสะยาวเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

สำหรับตัวแพ็คเกจนั้นจะใส่มาในกล่องสีดำ แต่รอบนี้ได้มีการเพิ่มสีสรรค์เข้ามาอย่างมากมายเลยทีเดียวเพราะตัวการ์ด PCI-E วันนี้จะมาพร้อมกับแสงไฟ RGB  ก็ต้องเปลียนรูปแบบแพ็คเกจให้เข้ากับยุคสมัยกันบ้าง โดยทางด้านหน้าของตัวกล่องนั้นก็จะมีเขียนชื่อรุ่น M9Pe บอกเอาไว้แค่ชื่อรุ่นหลักๆไม่ได้มีตัวต่อท้ายวงเล็บเอาไว้ ต้องไปดูทางด้านหลังกล่องเอาครับในส่วนนี้

รายละเอียดคร่าวๆของตัวการ์ดนี้จะมีไฟ RGB และตัวชิพ Nand ที่เอาไว้เก็บข้อมูลจะเป็นแบบ 3D Nand หรือชิพรูปแบบใหม่แล้ว โดยมาพร้อมกับฮิตซิงค์ระบายความร้อนขนาดใหญ๋เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานนั้นดีมากยิ่งขึ้น โดยระยะเวลาของการรับประกันนั้นต้องบอกเอาไว้เลยว่ายาวนานมากถึง 5 ปีเต็ม! โดยการเชื่อมต่ออย่างที่รู้ๆกันถ้าเป็น SSD รูปแบบใหม่จะผ่านมาตรฐาน NVMe  โดยความจุที่เรานำมาทพสอบในวันนี้จะเป็นขนาด 512 GB

 

สำหรับทางด้านหลังของตัวกล่องนั้นหลักๆเลยจะเป็นการบอกในส่วนของความเร็วอ่านเขียน โดยแต่ละความจุจะมีความเร็วไม่เท่ากัน โดยขนาดเริ่มต้นจะอยู่ที่ 256 GB มาพร้อม ความเร็วอ่านเขียนที่ 3000/1000 MB/s และ 512 GB ที่ 3200/2000 Mb/s ส่วนตัวท๊อปความจุเยอะสุดจะเป็น 1 TB ความเร็วอยู่ที่ 3200/2100 MB/s

มาแกะกล่องดูอุปกรณ์ภายในกันก่อนเลยดีกว่าครับ โดยภายในกล่องนั้นจะแถมอุปกรณ์หลักๆที่เอาไว้ติดตั้งภายในเครื่องไม่ว่าจะเป็นตัวยึดการ์ดด้านหลังแบบ Low Profile เผื่อใครเอาไปติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่เป็นเคสเล็กๆ และยังมีชุดน๊อตที่เอาไว้สำหรับยึดตัวการ์ดแถมมาให้อีกด้วย โดยการติดตั้งนั้นไม่ได้ยากอะไร สามารถอ่านคู่มือที่แถมมาให้ภายในกล่องได้ทันที

สำหรับตัวการ์ดนั้นต้องบอกว่ามาในโทนสีดำสนิทเลยทีเดียว มีในส่วนตรงแบร์ดยี่ห้อเป็น Plextor ที่เป็นสีแดงตัดกันสวยงาม เรื่องของการเชื่อมต่อการ์ดใบนี้ต้องการสล๊อตที่เป็นแบบ 4X ขึ้นไป โดยส่วนนี้ผมเชื่อว่าหลายๆคนยังไม่รู้เรื่องของการเชื่อมต่อในส่วน PCI-E บางคนบอกเมนบอร์ดผมไม่มีตัว 4X จะติดตั้งไม่ได้เอาจริงๆแล้วการ์ด 1X  4X เราสามารถใส่ที่ช่องหรือสล๊อต 16X ได้ทั้งหมด ใช้งานได้เหมือนกันครับ

 

 

 

 

 

โดยตัวการ์ดถ้าใครจำรุ่นก่อนได้ที่เป็น M8pe ได้นั้นต้องบอกว่าหน้าตามันเหมือนกันเลยแค่ได้ทำการเปลียนสีของตัวโลโก้จากรุ่นก่อนหน้าใช้งานเป็นสีฟ้าตัวนี้ได้เปลียนมาเป็นสีแดง

 

 

 

 

 

สำหรับตัวการ์ดนี้จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งเพียงหนึ่งข่องเท่านั้น โดยต้องบอกอย่างหนึ่งนะครับว่าต้องดูในส่วนของ Len CPU ด้วยว่าเหลือพอมั้ยอย่างถ้าใครใช้งาน Ryzen จะมีมีให้ 24 เลน โดยการ์ดจอ

 

 

 

 

 

ทางด้านหลังนั้นจะมองเห็น PCB สีดำสนิทสวยงาม และทางด้านข้างของตัวการ์ดนั้นจะมีแถบสีอะคริลิค ตอนใช้งานนั้นจะมีแสงไฟ RGB ติดสวยงามและถ้าตอนตัว SSD มีการอ่านเขียนแสงไฟจะเปลียนเป็นแบบ renbow สวยงามเลยทีเดียว

สำหรับทางด้านหลังนั้นจะมีป้ายลาเบลลอกสเปคของตัว SSD มาให้ด้วย ก็เอาไว้ดูรุ่นและขนาดความจุ

CPU
AMD Ryzen 1800X
CPU Cooler
Noctua NH-D15
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
Asus Crosshair VI Extreme
Memory
G.Skill Trident Z RGB 3600 MHz 32 GB CL16
VGA Card
ASUS ROG Strix Vega 64
SSD
Plextor m8pe 256GB
SSD
WD Blue 1 TB
SSD
Plextor m9pe(y) 512 GB
Power Supply
Cooler Master 1200w mij
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความสวยงามขณะทำการทดสอบ เห็นแสงไฟ RGB เปลียนไปเรื่อยๆ เพิ่มแสงสีความสวยงามภายในเคสเป็นอย่างมาก


จบลงไปแล้วสำหรับการทดสอบในวันนี้เรียกได้ว่า ถึงแม้จะมาอยู่บนเซต AMD แต่ก็สามารถทำความแรงแบบไม่น้อยหน้าเลยทีเดียว โดยได้ตามสเปคหลังกล่องคือ 3225/2029 MB/s ไปแบบนิ่มๆในโปรแกรม CrystalDiskMark ครับ โดยต้องบอกว่ามันน่าสนใจตรงที่มาเป็นแบบ PCI-E แล้วนั้นสามารถให้คอมพิวเตอร์รุ่นก่อนๆที่อยากใช้งานระบบการเชื่อมต่อ NVME นั้นได้สัมผัสความแรงนั้นเอง และยังได้เรื่องของความสวยงามอีกด้วยเพราะว่าเจ้า Plextor M9Pe(Y) นั้นมีแสงไฟ RGB ส่องสว่างสวยงามภายในเคสด้วย เอาเป็นว่าได้ทั้งสวยทั้งแรงและเชื่อมต่อแบบเท่ๆพร้อมระบบระบายความร้อนที่ใหญ่กว่าการ์ด M.2 ดังนั้นถ้าใช้งานแบบโหลดหนักยาวๆ ผมเชื่อว่าความนิ่งนั้นตัว PCI-E นิ่งกว่าแน่นอน สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า