Review: Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe SSD 256GB
อยากลอง NVMe สักตัวดีๆจังเลย เชื่อว่าคนที่ก้าวมาจาก HDD ขยับมาใช้งาน SSD หลายๆคนคงจะติดใจไม่น้อยกับประสิทธิภาพของตัว SSD เพียงหนึ่งตัวจะทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เราเพิ่มขึ้นมามากเลยใช่มั้ยละครับแน่นอนว่าพอใครได้ทดลองใช้งาน SSD ไปแล้วจะไม่อยากกลับไปใช้งานกับเจ้า HDD ไปเลยนอกจากเอาไว้เก็บข้อมูลธรรมดาๆเท่านั้น แต่พอมันมีเทคโนโลยี่ใหม่ที่ต่อยอดมาจาก SSD นั้นก็คือการเชื่อมต่อผ่าน NVMe หรือเป็น SSD ยุคใหม่เชื่อมต่อผ่านช่องทาง M.2 เพราะว่ามีความแรงมากกว่าตัว SSD อยู่หลายเท่าเลยทีเดียว สำหรับวันนี้ทางผมก็ได้รับ SSD M.2 NVMe จากทาง Plextor ครับ โดยเป็นตัว Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe SSD 256GB เอาใจคนชอบความแรงแบบสุดๆ เอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
สำหรับตัว Plextor PX-256 M8SeG M.2 NVMe นั้นจะมีทั้งหมด 4 ขนาดความจุด้วยกันครับ โดยจะเริ่มต้นที่ 128 GB ไปจนถึง 1024 GB หรือ 1 TB ครับ โดยความแรงนั้นจะเพิ่มตามความจุ โดยวันนี้ที่เราจะทำกการทดสอบจะเป็นขนาด 256 GB
สำหรับการเชื่อมต่อนั้นอย่างที่บอกไปครับว่าความแรงจะมากกว่าการเชื่อมต่อแบบ Sata ที่แรงสุดได้เพียง 550 MB/s และเขียน 520 MB/s แต่สำหรับการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่เป็นแบบ NVMe นั้นจะผ่านช่องทาง PCIe Gen3x4 NVMe ครับ โดยความเร็วในการอ่านนั้นอยู่ที่ 2450 MB/s และความเร็วในการเขียนสูงสุดที่ 1000 MB/s โดยสำหรับตัวคอลโทรเลอร์นี้จะใช้งานเป็นของทาง Mavell 88ss1093 ครับ
สำหรับตัวแพ็คเกจนั้นทาง PLEXTORเลือกใช้งานเป็นสีน้ำเงิน มีลวดลายเป็นเส้นเหมือนกับฮิตซิงค์ของ M.2 ครับ โดยตรงลวดลายนี้ทาง PLEXTOR ได้บอกว่าออกแบบตามหลักการของลมวิ่งผ่านหรือ Aero Dynamic ครับ ทางด้านหน้ากล่องนี้มีเขียนบอกรายละเอียดเอาไว้
สำหรับทางด้านหลังของตัวกล่องนั้นจะมีเขียนรายละเอียดเอาไว้ทั้งหมด โดยจุดที่น่าสำคัญคือสเปคความเร็วในการอ่านเขียนครับ โดยตัวที่ผมได้รับมาจะเป็นความจุ 256 GB ความเร็วอ่านอยู่ที่ 2400 MB/s และเขียนที่ 1000 MB/s ด้วยกัน
แกะกล่องออกมาในกล่องจะมีน๊อต 1 ตัวเท่านั้นพร้อมกับ Plextor PX-256 M8SeG โดยตัวฮิตซิงค์นี้จะมีเหล็กหรืออลูมิเนียมติดตั้งมาไว้เพื่อช่วยระบายความร้อนขณะเราใช้งานได้เป็นอย่างดีโดยตัว M.2 นั้นจะมีสีดำสนิทและตัดกับสีฟ้าพร้อมมีโลโก้ PLEXTOR สกรีนเอาไว้อยู่ครับ
สำหรับทางด้านหลังนั้นจะมองเห็นตัว PCB สีเขียวครับ มีป้ายลาเบลแปะติดตั้งเอาไว้โดยเราสามารถดูความจุของตัว SSD ได้บนฉลากนี้ครับ
สำหรับการเชื่อมต่อนั้นจะผ่านช่อง M.2 บนเมนบอร์ดโดยตัวเมนบอร์ดนั้นต้องรองรับ NVMe ด้วยนะครับถึงจะใช้งานได้ สำหรับถ้าโน๊ทบุคมีช่องว่างเพียงพอก็ติดตั้งได้เช่นกันครับ
You must be logged in to post a comment.