Review:Plextor S3 256 GB สุดยอดความนิ่งที่ได้มาตราฐาน

Review:Plextor S3 256 GB สุดยอดความนิ่งที่ได้มาตราฐาน

 

สวัสดีครับทุกๆท่านกลับมาเจอกันอีกรอบหนึ่งหลังจากทางผมได้รีวิว SSD ของทาง Plextor ตัวใหม่ไปแล้วไม่กี่วันเป็นตัวแรงเอาใจคนอยากได้ความแรงแต่งบจำกัดครับ โดยสำหรับวันนี้ทางผมก็ได้ตัว Plextor S3G เป็น SSD ในราคาตลาดทั่วไปโดยการเชื่อมต่อ SSD อันนี้จะเป็นรูปแบบของทาง Sata แบบเดิมครับแต่ได้มีการปรับปรุ่งความแรงเพิ่มเข้ามาให้มีความเร็วมากขึ้นและมีความสเถียรอีกด้วยครับ โดยเรื่องของความคงทนนั้นต้องบอกว่าตัว SSD ของทาง Plextor นั้นขึ้นชื่อเรื่องนี้อยู่แล้วครับ เอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

 

 

สำหรับตัวกล่อง SSD ตัวนี้จะใช้งานเป็นกล่องสีขาวเรียบๆสวยงามครับ ทางด้านหน้ามีเขียนคำว่า  S3  เอาไว้บอกเป็นชื่อรุ่น โดยตัวความจุที่จะมารีวิวในวันนี้จะเป็นตัว 256 GB ครับ

สำหรับตัว SSD ของทาง Plextor จะมีเวลารับประกันทั้งหมด 3 ปีด้วยกันครับและ SSD นี้ยังมีการรองรับใช้งานซอฟแวร์ PlexTurbo เพื่อมาเร่งสปีดของตัว SSD นี้อีกด้วยครับ


สำหรับทางด้านหลังของกล่องนี้ SSD จะมีเขียนสเปคความเร็วแต่ละความจุเอาไว้ให้ครับ โดยจะมีความจุเริ่มต้นที่ 128 GB จนถึง 512GB ด้วยกันครับ ส่วนของเรื่อวความแรงตัวที่ได้รับมาจะอยู่ที่ 550\510 ด้วยกัน

แกะกล่องออกมาจะเจอกับตัวคู่มือการใช้งานของ SSD และตัว SSD เรียบๆสีเงินตามสไตล Plextor

สำหรับตัว SSD นีจะมีสีเงินปัดลายเป็นเส้นๆสวยงามมีการสกรียี่ห้อ Plextor เอาไว้ทางด้านบนซ้ายสวยงาม

ทางด้านหลังของตัว SSD จะมีป้ายลาเบลแปะบอกความจุและตัวสเปคเอาไว้ทั้งหมด


สำหรับการเชื่อมต่อของตัว SSD นี้จะใช้งานผ่านทาง Sata3

CPU
INTEL Core i7 7700k 
CPU Cooler
Custom Watercooling
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
ASUS MAXIMUS IX CODE
Memory
T-FORCE XTREEM DDR4-4000CL18 1.35V 16GB
VGA Card
PowerColor Red Devil RX580 Goldsample 8 GB
SSD
OCZ VECTOR 180 480 GB
SSD
Plextor M8Pe 256 GB
SSD
Plextor S3 256 GB
Power Supply
CORSAIR AX 1500i
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

สเปคในการทดสอบวันนี้เป็นเซตของทาง Intel กับเมนบอร์ดชิพเซตใหม่ล่าสุด

บรรยากาศขณะทำการทดสอบ

ก็จบไปแล้วสำหรับการทดสอบในวันนี้ต้องบอกอย่างแรกก่อนเลยครับว่า SSD ที่เป็นการเชื่อมต่อผ่าน Sata 3  นั้นเรียกว่ามาถึงจุดที่ไม่สามารถทะลุไปได้มากเกิน 600MB/s แล้ว เราเลยจะเห็นว่า SSD ที่ออกมาใหม่และวางขายจะเริ่มไปเน้นเรื่องของความสเถียนให้มากยิ่งขึ้นและเวลาการใช้งานที่นานๆแล้วข้อมูลเยอะเริ่มใกล้เต็มจะเห็นว่า SSD รุ่นก่อนๆหน้านี้ความเร็วจะตกและลดลงไปเยอะมากๆเลยทีเดียวแต่มาถึงรุ่นใหม่ๆในเวลานี้คือถึงแม้ว่าข้อมูลจะแน่นจนเกือบเต็มก็ตามที่แต่ตัวความเร็วของตัว SSD นี้จะตกหรือลดไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นทำให้เราสามารถใช้งาน SSD ได้เต็มความจุที่ให้มาและได้ประสิทธิภาพที่เต็มที่มากกว่าครับ โดยต้องบอกว่าเจ้า Plextor ตัวนี้ออกมาตอบโจทย์คนเริ่มต้นใช้งานSSD ลูกแรกของเครื่องเพราะราคาที่จะเปิดว่าขายมานั้นต้องบอกว่าไม่แพงมากครับก็ถือว่าเป็น SSD อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากครับ สำหรับวันนี้ทางผมก็คงต้องขอตัวลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้เอาไว้พบกันใหม่บทความหน้าครับ สวัสดีครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า