หลังจากที่เมื่อวานได้มีการเปิดตัวซีพียู Zen 2 ด้วยกันหลายรุ่น ทั้ง Ryzen 9 3950X, Threadripper 3000 series และ Athlon 3000G รวมถึงเมนบอร์ดชิปเซต TRX40 เดี๋ยววันนี้เราไปดูข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละอย่างกันนะครับ
Ryzen 9 3950X
นับว่าเป็นซีพียูเมนสตรีมที่หลายคนเฝ้ารอมากที่สุด เจ้า Ryzen 9 3950X นี้ มีแกนประมวลผล 16 Cores/32 Theads ความเร็วเริ่มต้นที่ 3.5 Ghz และบูสต์ได้สูงสุดถึง 4.7 GHz เลยทีเดียว
แต่จุดสังเกตในสเปคของซีพียูตัวนนี้ คือเรื่องค่า TDP 105W ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้เลยหากมองในแง่ของความสามารถในการบูสต์ได้ถึง 4.7 GHz
และนั่นจึงทำให้หลายคนคาดว่า ที่ TDP 105W จะเป็นค่าที่ประเมินจากความเร็วเริ่มต้น แถมตอกย้ำด้วยการที่ AMD ไม่ได้แถมฮันซิงค์มาให้ในกล่อง แต่เปลี่ยนเป็นการโฆษณาว่ามันบูสต์ได้ถึง 4.7 GHz จริง ๆ นะ ถ้าใช้งานร่วมกับระบบน้ำ และนั่นแสดงว่า ถ้า OC สุดจริงอาจจะกินไฟและร้อนเอาเรื่องอยู่
ที่นี้เรามาดูประสิทธิภาพจากเอกสารของ AMD ในด้านการเล่นเกมพบว่า ประสิทธิภาพในเกมที่ทำการทดสอบ ใกล้เคียงกับ Intel Core i9-9900K และแรงกว่า Core i9-9920X ส่วนด้าน Production ทาง Ryzen 9 3950X แรงกว่า 9900K/9920X ตั้งแต่ 18-79% ขึ้นกับการทดสอบครับ
และส่วนที่ขาดไปไม่ได้ในการทดสอบ คือ Single-Thread performance ซึ่ง Ryzen 9 3950X แรงกว่า Ryzen 7 2700X ประมาณ 22% ครับ
นอกจากนี้ AMD ยังได้นำเสนอ ECO-mode ใน Ryzen Master ซึ่งใช้งานได้กับซีพียู Ryzen 3000 ทุกตัว โดยฟีเจอร์นี้ จะช่วบปรับการทำงานเพื่อลดค่า TDP ของซีพียูลงได้ เช่น ซีพียู 95/105W เราสามารถลดค่า TDP ได้จนถึง 65W เลยทีเดียว นั่นหมายถึงการลดใช้พลังงาน 44% แต่ยังได้ประสิทธิภาพอยู่ที่ 77% ของค่า TDP ปกติครับ
ทางด้านราคา Ryzen 9 3950X อยู่ที่ 749 ดอลลาร์ หรือประมาณ 23000 บาท เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้งานทั้งเล่นเกมและงานครีเอทีฟต่าง ๆ ครับ
Ryzen Threadripper 3000
มาดูที่ซีพียูระดับ HEDT กันบ้าง โดยได้เปิดตัวมาได้ 2 รุ่น ได้แก่
Threadripper 3970X แกนประมวลผล 32 Cores/64 Threads 3.7 GHz/4.5 GHz
Threadripper 3960X แกนประมวลผล 24 Cores/48 Threads 3.8 GHz/4.5 GHz
ส่วนประกอบภายในเเทบจะเหมือนกันหมด ตั้งแต่แคช L3 128 MB, PCIe 4.0 64 lanes, Ram Quad channel 3200MHz, TDP 280W
เมื่อเทียบกับ Core i9-9980XE ในงานเวิร์คสเตชั่นทั่วไป เช่น Adobe premiere ทาง Threadripper 3960X และ 3970X ได้คะแนนแรงกว่าประมาณ 22-31% และ 36-49% ตามลำดับ
ส่วนงานด้านประมวลผล AI นั้น ทาง AMD ให้ความเห็นว่า ตอนนี้ Threadripper เน้นในกลุ่มผู้ใช้งานเวิร์คสเตชั่นเป็นหลัก จึงยังไม่ถึงเวลาที่จะใช้ในด้าน AI ในตอนนี้
ทีนี้บางคนอยากรู้ว่า มันใช้งานกับเมนบอร์ด TR4 ได้หรือไม่ เริ่มแรกที่ขาพินของซีพียู อันนี้บอกเลยว่าจำนวนเท่ากันครับ คือสามารถใส่ลงซ็อกเกตได้แน่นอน แต่ที่ต่างกันคือเรื่องการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและชิปเซต ซึ่งจะต้องใช้เลน PCIe 4.0 ถึง 8 เลน แล้วบอร์ด TR4 เป็น PCIe 3.0 ดังนั้น จึงใช้ร่วมกันไม่ได้ครับ (ยกเว้นอาจจะมีการอัปเดตไบออสเพิ่มเติมในอนาคต)
คิดว่าตอนนี้ Threadripper ทั้งสองตัวยังไม่ใช่ตัวท็อปแน่นอน น่าจะมีรุ่น 64 Cores/128 Threads อยู่ด้วยครับ เหลือแค่รอเวลาเปิดตัว
Threadripper 3970X เปิดราคาอยู่ที่ 1999 ดอลลาร์ (60,800 บาท) และ Threadripper 3960X อยู่ที่ 1399 ดอลลาร์ (45,500 บาท)
เมนบอร์ด TRX40
ในส่วนนี้ผมจะพาไปดูจุดเด่นสำหรับเมนบอร์ดชิปเซต TRX40 ที่รองรับ PCIe 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ แต่ที่แตกต่างอย่างชัดเจน คือคุณสมบัติในการเลือกออกแบบพอร์ตต่าง ๆ ดังตารางนี้
Potential TRX40 Variants | |||||||
AnandTech | CPU | Chipset | |||||
TRX40 SATA Powerhouse 20 drives |
x48 for PCIe slots | x8 for downlink | 8x SATA from options | x8 for dual NVMe | 8x SATA from options | 4x SATA from chipset | |
TRX40 NVMe Powerhouse 18+ drives |
x48 for PCIe slots | x8 for downlink | dual NVMe from options | x8 for dual NVMe | dual NVMe for options | – |
อย่างเช่น ถ้าอยากออกแบบบอร์ดเน้น SATA ก็สามารถเลือกออปชันแรก เพื่อให้ได้พอร์ตมากถึง 20 พอร์ต หรืออยากเน้น NVMe ก็ใช้ออปชันสอง ใส่ได้มากถึง 6 ตัวเลยทีเดียว
และด้านล่างนี้ คือภาพเมนบอร์ดจากแต่ละแบรนด์ครับ
Athlon 3000G
และน้องเล็กสุดในงานเปิดตัว คือ เจ้า Athlon 3000G ซึ่งทาง AMD ได้มีการปรับเปลี่ยนการนับเลขใหม่ ในตระกูล Athlon ที่เดิมใช้เลขหลักร้อย คราวนี้ใช้รหัส 3000 เหมือน Ryzen APU แล้วครับ
สำหรับสถาปัตยกรรม ยังคงเป็น Zen+ เหมือน Ryzen APU รุ่นปัจจุบัน โดย Athlon 3000G มีแกนประมวลผล 2 Cores/4 Threads ความเร็ว 3.5 GHz ไม่มีบูสต์ พร้อมชิปกราฟฟิกออนบอร์ด Vega 3 @1100 MHz
สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับ Athlon GE คือความสามารถในการ Overclock ดังนั้น แม้ไม่มีบูสต์ เราก็ปรับเพิ่มความเร็วได้ ส่วนชิปกราฟฟิกออนบอร์ดก็เร็วขึ้นอีก 100 MHz
นอกจากนี้ AMD ยังแถมฮีตซิ้งค์ที่รองรับค่า TDP 65W แล้วซีพียูตัวนี้มีค่า TDP 35W เท่านั้นเอง ดังนั้น ถ้าเราจะ OC น่าจะปรับได้เพิ่มอีกพอสมควรครับ
สำหรับราคาจะอยู่ที่ 49 ดอลลาร์ (ประมาณ 1500 บาท) งานนี้ประกอบคอมไว้ใช้ดูหนังฟังเพลงสบาย ๆ เลยครับ
กำหนดการวางจำหน่ายของซีพียูแต่ละรุ่น มีดังนี้
Ryzen 9 3950X — 25 พฤศจิกายน 2562
Athlon 3000G — 19 พฤศจิกายน 2562
Threadripper 3960X/3970X — 25 พฤศจิกายน 2562
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Anandtech
You must be logged in to post a comment.