เจาะลึก “AMD Ryzen 9000 Series” และเมนบอร์ด AM5 800 Series จากงาน AMD Tech Day

สัปดาห์ที่ผ่านมา แอดได้ไปงาน AMD Tech Day ซึ่งเขาได้เจาะลึกเทคโนโลยีของ AMD ทั้งซีพียู Ryzen, ชิปกราฟิก RDNA และชิปด้าน AI XDNA วันนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันครับว่าปีนี้ AMD เขามีเทคโนโลยีอะไรเด็ด ๆ มาให้เราบ้าง

และเมนบอร์ด AM5 800 Series จากงาน AMD Tech Day

Ryzen 9000 “Granite Ridge”

Ryzen 9000 Series ใช้ชิปประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen 5 ที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้าน IPC เพิ่มขึ้น 16% ในส่วนของสเปกซีพียูแต่ละรุ่นมีดังนี้

จะเห็นว่า Ryzen 5 และ Ryzen 7 จะมีค่า TDP 65W ใช้พลังงานลดลง แต่ก็ยังได้ความแรงเพิ่มขึ้น แสดงว่าตัวชิป Zen 5 แรงขึ้นจากพลังดิบของตัวเอง ส่วนราคานั้นยังไม่มีการเปิดเผยออกมาครับ แต่คาดว่าน่าจะมาก่อนวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นวันวางจำหน่ายครับ

เรามาดูผลทดสอบที่ AMD นำมาโชว์ในงาน Tech Day กัน  เริ่มต้นที่ Ryzen 9 9900X พระรองตัวท็อป 12 Cores/24 Threads เทียบกับ Intel Core i9-14900K พบว่า Ryzen ทำคะแนนนำในด้าน Gaming และ Productivity เฉลี่ย ๆ อยู่ที่ 10% ครับ

ซึ่งจุดที่เหนือกว่าของ AMD จะเป็นเรื่องของการใช้พลังงาน โดย Ryzen 9 9900X จะใช้ไฟอยู่ที่ 120/162W ส่วน Intel กินไฟมากถึง 125/253W และอาจไต่ไปมากถึง 350W เลยทีเดียว

Ryzen 7 9700X แกนประมวลผล 8 Cores/16 Threads แข่งกับ Core i7-14700K จะเห็นว่า AMD ก็ยังทำได้ดีทั้ง Productivity และ Gaming แต่จะเอนไปด้าน Productivity ที่ทำคะแนนได้ดีกว่าพอสมควร ที่สำคัญ AMD ก็ยังกินไฟน้อยกว่า Ryzen 7 9700X ใช้ไฟ 65/88W ส่วน Core i7-14700K ใช้ไฟไปถึง 125/253W

Ryzen 5 9600X น้องรุ่นมหานิยม แกนประมวลผล 6 Cores/12 Threads เมื่อเทียบกับ Intel Core i5-14600K ฝั่ง AMD ก็ยังทำคะแนนนำ 22% ในด้าน Productivity และ 11% ด้าน Gaming แถมยังใช้พลังงาน 88W (Peak) น้อยกว่า Core i5-14600K ที่ใช้ไฟ 181W (peak)

นอกจากนี้ AMD ยังจับซีพียู Ryzen 9000 Series เทียบกับ Ryzen X3D ให้ดูด้วย แต่!! จะเทียบกับ Ryzen 7 5800X3D เจนเก่า เพื่อแสดงให้เห็นว่า Ryzen 9000 Series ประสิทธิภาพสู้กับโมเดล X3D ได้นะ หากใครจะเอาไปเล่นเกม จัด Ryzen 9000 Series ได้เลย

อย่างไรก็ตาม งานนี้ไม่ได้จับเทียบกับ Ryzen 7000X3D ตามระเบียบ เพราะยังไงการเล่นเกมตอนนี้ Ryzen 7000X3D กินเรียบจริง ๆ

การจัดการพลังงาน

อานิสงค์จากโหนดการผลิตใหม่ของ TSMC โดย Zen 5 เปลี่ยนไปใช้โหนด N4P หรือจะเรียกว่าเป็นโหนด 4nm รุ่นปรับปรุงก็ได้ (เพราะ 4nm ดั้งเดิมจัดการพลังงานได้ไม่ดีเท่ากับ 5nm) ในขณะที่ Zen 4 ใช้โหนดการผลิต 5nm ครับ

ด้วยเหตุนี้ Ryzen 9000 Series “Zen 5” มีความร้อนลดลงอย่างน้อย 7 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับ Zen 4 ในค่า TDP เท่า ๆ กัน เพราะตัวชิปมาค่าการต้านทานความร้อน (Thermal Resistance) เพิ่มขึ้นถึง 15%

นอกจากนี้ AMD ยังออกแบบเซนเซอร์รับความร้อนให้มีประสิทธิภาพขึ้นกว่า Zen 4 ร่วมกับการพัฒนาเฟิร์มแวร์ที่สามารถวิเคราะห์อุณหภูมิซีพียูได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น สามารถควบคุมการทำงานของระบบระบายความร้อนให้สอดคล้องกับโหลดของซีพียูครับ

ชิปเซต AMD 800 Series

ซ็อกเก็ตที่รองรับ Ryzen 9000 Series คือ AM5 เป็นการต่อยอดความสำเร็จจาก AM4 ที่ยืนหยัดผ่านกาลเวลามานาน ปีนี้ AMD ก็ตั้งใจพัฒนา AM5 ให้รองรับ Ryzen ต่อไปอีกหลาย ๆ รุ่นเช่นกัน คาดว่าจะอยู่ไปจนถึงปี 2027+

เมนบอร์ดที่ออกแบบมาเพื่อ Ryzen 9000 Series จะเป็นเมนบอร์ด 800 Series ซึ่งปีนี้มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนของการออกแต่ละรุ่นนิดหน่อย ไปดูกันเลยครับ

AMD X870 และ X870E เป็นเมนบอร์ดรุ่นท็อปที่เน้นการ OC และการใช้งานร่วมอุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย ตรงนี้ผมคงไม่ต้องบรรยายอะไรมาก หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วกับบอร์ดตัวท็อปของค่ายนี้

ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ AMD B850 และ AMD B840 จากเดิมที่ AMD ออกเมนบอร์ด B650E และ B650 ตอนนี้ปรับเปลี่ยนมาเป็นแยกรหัสรุ่นกันไปเลย โดยมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้

– PCIe: AMD B850 รองรับ Gen 5 สำหรับ SSD และ Gen 4 สำหรับการ์ดจอ, AMD B840 รองรับเฉพาะ Gen 3

– USB: AMD B850 รองรับ USB 3.2 20Gbps, AMD B840 รองรับเฉพาะ USB 3.2 10Gbps

– Overclock: AMD B850 รองรับ OC CPU และแรม, AMD B840 รองรับเฉพาะ OC แรมอย่างเดียว

การ Overclock

มาต่อกันที่เรื่อง Overclock เมนบอร์ด 800 Series รองรับการ OC แรม DDR5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สูงสุดที่บัส 8000 MT/s และใส่แรมเริ่มต้นได้ที่บัส 5600 MT/s เลย ส่วนการ OC แรมสามารถปรับได้แบบ Real-time ผ่านโปรแกรม Ryzen Master บน Windows

ทางด้านซีพียู เราสามารถ OC ผ่าน Ryzen Master ได้ หรือจะปรับผ่านไบออสด้วยก็ได้เช่นกัน รอบนี้ AMD ได้ปรับปรุงเรื่อง Precision Boost Overdrive (PBO) หรือที่เรียกว่า Auto-OC ให้ทำได้ดีขึ้น ประกอบกับที่ตัวซีพียูในหลายรุ่นได้ลดค่า TDP ลงเหลือเพียง 65W ก็กลายเป็นข้อดีให้เราดันไฟได้เพิ่มขึ้น ยิ่ง OC ได้มากขึ้นนั่นเองครับ

และนี่คือเจาะลึก Ryzen 9000 Series และเมนบอร์ดของเขา ในบทความถัดไปแอดจะพาไปเจาะลึก Ryzen AI 300 Series ซีพียูโน้ตบุ๊ก ที่ตอบโจทย์ยุคนี้ตามเทรนด์ AI ไว้รอติดตามกันครับ

Related articles

HOW TO: เข้าไบออสง่าย ๆ ไม่ต้องกดคีย์ลัด ด้วย Shortcut บน Windows !!

สำหรับใครที่กดคีย์ลัดเข้าไบออสไม่เคยจะทัน หรือโน้ตบุ๊กบางรุ่นเราก็ไม่รู้ปุ่มคีย์ลัดของมัน วันนี้แอดมีวิธีเข้าไบออสผ่านชอร์ตคัตบน Windows ง่าย ๆ ถ้าเผลอหลุดเข้ามาใน Windows ก็กดชอร์ตคัตไปได้เลยครับ เริ่มแรกบนหน้าเดสก์ท็อป...

Black Myth: Wukong การ์ดจอต้องแรงแค่ไหนถึงเอาอยู่

เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับเกมฟอร์มยักษ์แห่งปีอย่าง Black Myth: Wukong โดยตัวเกมจะมาในแนว RPG ที่ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่เราทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี...

MSI โชว์แรม DDR5 CAMM2 ปฏิวัติวงการคอม – แรงกว่า, ประหยัดไฟกว่า, ซ่อมง่ายกว่า ไม่ขวางทางลม !!

จากการเปิดตัวไปในงาน Computex 2024 แรมชนิดใหม่ DDR5 CAMM2 กำลังเข้ามาปฏิวัติวงการประกอบคอม ซึ่งทาง MSI...

Windows ติดบั๊ก ทำให้ AMD Ryzen แรงลดลง หากไม่เข้าถึงสิทธิ์ Admin

พักหลังที่ Windows 11 เริ่มเสถียร ก็ไม่ค่อยมีบั๊กที่ทำให้ซีพียูหรือการ์ดจอแรงลดลงแล้วนะครับ แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าจะมีการค้นพบบั๊กใหม่ ที่กระทบต่อความแรงของซีพียู AMD Ryzen...

6 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ AMD Ryzen 9000 Series – จัดเลยไหมหรือรอต่อไป ??

ก่อนหน้านี้เราน่าจะได้เห็นผลทดสอบของ Ryzen 9000 Series กันไปบ้างแล้ว และน่าจะมีแผนอัปเกรดในอนาคต เดี๋ยววันนี้แอดจะพาไปดูเรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อซีพียูรุ่นใหม่จากค่าย AMD กันครับ Single-Core...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า