อินเทล เปิดตัวสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ขยายตลาดชิปประมวลผล
อินเทล แสดงตัวอย่างเครื่องพีซี ที่ใช้ชิป 10nm รองรับดาต้าเซ็นเตอร์ และโครงข่ายการสื่อสาร รวมทั้ง “Sunny Cove” เทคโนโลยีเพื่ออนาคตสำหรับสถาปัตยกรรมมาโคร ซึ่งมาพร้อมกับ AI และชิปประมวลผลเร็วแบบคริปโต รวมไปถึงชิป 3D สำหรับคำนวณเกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์เป็นครั้งแรก
ซานตา คลารา – แคลิฟอเนียร์ , 12 ธันวาคม 2561– ในงาน “Architecture Day” จัดขึ้นโดยบริษัทอินเทล โดยผู้บริหาร, สถาปนิก และผู้เกี่ยวข้อง ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเทคโนโลยี และร่วมพูดคุยเกี่ยวกับแผนการแห่งอนาคตอัน เพื่อสนับสนุนการขยับขยายและพัฒนาจักรวาลของการทำงานด้านดาต้าของเครื่องพีซี และอุปกรณ์สื่อสารอัจฉริยะ เครือข่ายความเร็วสูงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อันเป็นที่แพร่หลาย (AI) รวมไปถึงเรื่องเกี่ยวกับระบบคลาวด์ และยวดยานพาหนะ
ครั้งนี้อินเทล นำเสนอพีซีต้นแบบ ซึ่งผลิตด้วยชิป10nm พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองการทำงานด้านดาต้าเซนเตอร์ และเครือข่าย พร้อมกับแสดงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้านดาต้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ อินเทลยังกล่าวถึงแผนงานเทคโนโลยี ซึ่งสำคัญต่อการลงทุน และพัฒนาไปสู่ความความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองผู้ใช้งาน ด้านวิศวกรรมทั้ง 6 ภาคส่วน ได้แก่ การผลิตและบรรจุภัณฑ์ระดับสูง สถาปัตยกรรมใหม่เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะทาง เช่น AI และกราฟฟิค หน่วยความจำอันทรงพลังด้านการประมวลผล การเชื่อมต่อข้ามอุปกรณ์ การฝังระบบรักษาความปลอดภัยลงในชิป และซอฟต์แวร์ช่วยลดความซับซ้อนของการเขียนโปรแกรมสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ตามแผนงานของอินเทล
เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยวางรากฐานให้เกิดยุคคอมพิวเตอร์อันเต็มไปด้วยความหลากหลาย และโอกาสในการขยายมุลค่าทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นกว่า 300,000 ล้านเหรียญภายในปี 2565
ข้อมูลสำคัญจากงาน Intel Architecture Day
- ครั้งแรกของการใช้ 3D Logic chips อินเทลแสดงเทคโนโลยีสำหรับการบรรจุภัณฑ์ ใหม่ล่าสุด มีชื่อเรียกว่า “Foveros” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 3D ช่วยผสมผสาน เทคโนโลยีแบบ Logic-on-logic เข้าด้วยกัน
และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ออกแบบในการ “จับคู่” IP block ซึ่งประกอบไปด้วยเมมโมรี่หลากหลายรุปแบบ เข้ากับชิ้นส่วน I/O ในอุปกรณ์ใหม่ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถแยกเป็นชิปเซ็ตที่เล็กลงที่มี I/O และ SRAM พร้อมขุมพลังวงจรที่สามารถนำไปฝังในแม่พิมพ์และลอจิกชิปเซ็ตที่มีประสิทธิภาพขั้นสูงได้
นอกจากนี้ อินเทลมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายรุ่นที่ใช้เทคโนโลยี Foveros ในช่วงกลางปี 2562 ซึ่งผลิตภัณฑ์แรกที่จะเปิดตัว จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมเอาความสามารถในการทำงานขั้นสูงจากชิป10nm เข้ากับ เทคโนโลยี 22FFL ซึ่งใช้พลังงานต่ำ นับว่าช่วยให้การทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพระดับโลกและการประหยัดพลังงานสามารถรวมกันได้อย่างลงตัวด้วยชิปตัวเล็กๆ
หรือเรียกได้ว่า Foveros คือการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อ 2D Multi-die Interconnect Bridge (EMIB) ของ Intel ซึ่งเปิดตัวไปในปี 2561
- CPU ใหม่เพื่องานสถาปัตยกรรมมาโคร : อินเทลเปิดตัว Sunny Cove CPU รุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับการสร้างงานสถาปัตยกรรมมาโคร โดย CPU นี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อยกระดับความสามารถในการทำงานให้มีพลังและประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านการทำงานทั่วไป และงานทางด้านคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง เช่น AI และการเข้ารหัส (cryptography) โดย Sunny Cove จะเป็นเซิฟเวอร์พื้นฐานตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป จุดเด่นของ Sunny Cove มีดังต่อไปนี้
- เพิ่มความสามารถในการทำงานของสถาปัตยกรรมไมโครให้มีประสิทิภาพในการทำงานคู่ขนานมได้มากขึ้น
- อัพเกรดอัลกอริทึมใหม่ ช่วยลดความหน่วงละข้อผิดพลาด
- เพิ่มขนาดของหน่วยความจำและการโอนถ่ายข้อมูลให้เหมาะสมกับการทำงานแบบเน้นดาต้าเป็นศูนย์กลาง
- พัฒนาฟังก์ชั่นทางด้านสถาปัตยกรรมและอัลกอริทึ่ม สำหรับใช้ในงานเฉพาะทาง เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลให้กับการเข้ารหัส เช่น vector AES และSHA-NI รวมไปถึงระบบอื่นๆ ที่มีผลต่อการประมวลผลข้อมูลอีกด้วย
Sunny Cove ช่วยลดความล่าช้าจากการประมวลผลปริมาณข้อมูลมหาศาล และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้การทำงานแบบคู่ขนานราบรื่นขึ้น ซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานหลากรูปแบบ ตั้งแต่เกมมิ่ง ,มีเดีย ไปจนถึงการใช้งานแอพพลิเคชั่นจัดเก็บดาต้า
- ชิปกราฟฟิคแห่งโลกอนาคต: อินเทลเปิดตัวชิปกราฟฟิค Gen11 รุ่นใหม่ มีหน่วยประมวลผลที่เพิ่มมากขึ้นถึง 64 execution units (EUs) นับว่ามากกว่ากราฟิคชิปรุ่นเก่ากว่าอย่าง Intel Gen9 ที่มีเพียง 24 EUs ถึงสามเท่าตัว โดยชิปดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดของ 1 TFLOPS ซึ่งชิปตัวใหม่นี้ จะมีการผลิตแบบ 10nm เริ่มต้นใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 2562
สถาปัตยกรรมชิปกราฟิครุ่นใหม่นี้คาดว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้นเป็นสองเท่าของชิปกราฟฟิครุ่นเก่าอย่าง Intel Gen9 และด้วยความสามารถที่มีมากกว่า 1TFLOPS ชิปตัวนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่มเกมส์ขึ้นไปอีกขั้น ทั้งนี้ภายในงาน อินเทลยังได้ทดลองใช้ชิปกราฟิค Gen11 ผ่านการใช้งานบนแอพลิเคชันยอดนิยม ซึ่งผลการทดสอบพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของชิปกราฟิค Gen 11 มีอัตราความเร็วที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับชิปกราฟฟิค Gen9 ตัวเดิม พิสูจน์ได้ว่าชิปกราฟฟิค Gen11 จะรองรับการสตรีมวิดีโอด้วยระบบความละเอียดสูง และจะรองรับเทคโนโลยี Intel® Adaptive Sync ที่จะเสริมสร้างประสบการณ์ในการเล่นเกมส์ให้เป็นไปอย่างลื่นไหลและไม่ติดขัดมากขึ้น
yAt Intel Architecture Day on Tuesday, Dec. 11, 2018, Raja Koduri, Intel chief architect, senior vice president of Core and Visual Computing Group and general manager of Edge Computing Solutions, explains how the company is positioned to deliver leadership products across architectures and workloads for an expanding data-centric market. (Credit: Intel Corporation)และในปี 2563 อินเทลมีแผนนำเสนอชิปกราฟฟิกตัวใหม่อย่างเป็นทางการอีกครั้ง
- ซอฟท์แวร์ “ONE API” : อินเทล เปิดตัว “One API” โปรเจ็คซึ่งช่วยระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น CPU, GPU FPGA, AI และตัวเร่งการประมวลผลอื่นๆ ให้ทำงานง่ายขึ้น โปรเจ็คนี้ได้รวมชุดเครื่องมือที่สามารถเร่งความเร็วโค้ดสำหรับประมวลผล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากชุดอุปกรณ์ที่ครอบคลุมและเป็นระบบ สนับสนุนการทำแผนที่ซอฟต์แวร์ และเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ ได้อย่างเหนือชั้น โดยคาดว่าโปรเจ็คนี้จะแล้วเสร็จในปี 2562
- หน่วยความจำและการจัดเก็บ: อินเทลได้กล่าวถึงการอัพเดตและปรับปรุงเทคโนโลยี Intel® Optane™ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ซึ่ง Intel® Optane™ DC รองรับอุปกรณ์หน่วยความจำแบบถาวรใหม่ ที่ผสานเทคโนโลยีหน่วยความจำเสมือน เข้ากับการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ โดยนำข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นเข้ามาใกล้CPUเพื่อการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังเช่นที่ใช้ใน AI และฐานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ด้วยความจุที่มากและระบบเก็บรักษาข้อมูลแบบถาวร ช่วยลดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องใช้เวลานาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยความจำถาวร Intel Optane DC มีสายแคช (64B) ต่อตรงไปยังCPU ใช้เวลาในการอ่านค่าข้อมุลต่างๆ ในกรณีที่เรียกอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำถาวร Optaneโดยตรง หรือกรณีที่หากข้อมูลที่ต้องการไม่ได้ถูกแคชลงใน DRAM โดยเฉลี่ย คือ 350 นาโนวินาที Optane DC SSD มีค่าเฉลี่ยเวลาในการอ่านข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10,000 นาโนวินาที (10 ไมโครวินาที) นับเป็นการปรับปรุงที่น่าทึ่ง และในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการถูกบันทึกใน DRAM ข้อมูลจะถูกแคชด้วยตัวควบคุมหน่วยความจำของCPU สั่งการโดยแอพพลิเคชัน ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มจะใช้วิธีการอ่านข้อมูลคล้าย DRAM (<100 นาโนวินาที)
นอกจากนี้ อินเทลยังแสดงให้ถึงความรวดเร็วในการย้ายและเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลของจาก HDDs ไปยัง SSDs QLC NAND 1 เทราไบต์
การผนวกรวมกันของ Intel Optane SSDs กับ QLC NAND SSD ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อนำมารวมกันแล้ว เห็นได้ว่าความก้าวหน้าของแพลตฟอร์มและหน่วยความจำเหล่านี้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับระบบและแอพพลิเคชันอันหลากหลาย
- ชุดแหล่งอ้างอิงการเรียนรู้เชิงลึก: อินเทลได้เผยแพร่ ชุดแหล่งอ้างอิงการเรียนรู้เชิงลึก ซึ่งเป็นสมาร์ทโอเพนซอร์สที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นของIntel®Xeon® การเปิดตัวโอเพนซอร์สนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของอินเทล เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ AI สามารถเข้าถึงคุณลักษณะและฟังก์ชันการทำงานทั้งหมดของแพลตฟอร์มจากอินเทลได้อย่างง่ายดาย ชุดอ้างอิงการเรียนรู้เชิงลึก ได้รับการปรับแต่งและสร้างขึ้นเพื่อให้เข้ากับระบบคลาวด์ โดยการเปิดตัวครั้งนี้ อินเทลจะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว เพราะความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ลงลดลง แต่ยังคงไว้ซึ่งการปรับแต่งโซลูชันอย่างอิสระ รองรับ
- ระบบปฏิบัติการ: ระบบปฏิบัติการ Linux สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการในการพัฒนาตามความต้องการของบุคคลได้ อีกทั้งยังได้รับการปรับให้เข้ากับแพลตฟอร์มของอินเทลมากขึ้น เพื่อตอบสนองใช้งานแบบเฉพาะทาง เช่น การเรียนรู้ลึกเชิงลึก
- Orchestration: Kubernetes ช่วยจัดการและจัดระเบียบแอพพลิเคชันสำหรับเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ที่นำมาใช้ได้กับระบบของอินเทล
- คอนเทนเนอร์: Docker* และ Kata* ใช้เทคโนโลยี Intel® Virtualization เพื่อยกระดับความปลอดภัย
- ไลบรารี: Intel® Math Kernel ไลบรารี สำหรับ Deep Neural Networks (MKL DNN) เป็นฐานข้อมูลคณิตศาสตร์ที่ผ่านการพัฒนาจากอินเทล เพื่อรองรับการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
- รันไทม์: Python สนับสนุนการสร้างแอพลิเคชั่น และการบริการ สามารถประยุคใช้กับระบบของอินเทลได้
- กรอบการทำงาน: TensorFlow* เป็นระบบการเรียนรู้เชิงลึก และเป็นขอบข่ายการเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์
- การใช้งาน: KubeFlow* เป็นเครื่องมือการใช้งานแบบเปิดเผย ที่ขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรม ซึ่งให้ประสบการณ์การทำงานที่รวดเร็วของอินเทล จุดเด่นคือความสะดวกในการติดตั้ง และใช้งานง่าย
You must be logged in to post a comment.