Windows 10 บน ARM คืออะไร และแตกต่างจากรุ่นปกติมากแค่ไหน หาคำตอบได้ที่นี่!

หลังจากที่ได้มีการเปิดตัวอุปกรณ์ Windows 10 ที่ใช้งานร่วมกับชิปประมวลผล ARM คิดว่าเพื่อนๆ หลายคนน่าจะอยากรู้ว่ามันแตกต่างจากที่อยู่บนเดสก์ทอป กับโน้ตบุ๊คทั่วไปอย่างไร เดี๋ยวเรามาหาคำตอบกัน

ขอพูดถึงซีพียู ARM นิดนึงนะครับ ARM (Advanced RISC Machine) เป็นซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมแบบ RISC (Reduced instruction set computing) ซึ่งซีพียูประเภทนี้ จะมีการใช้ชุดคำสั่งที่น้อยลง โดย 1 คำสั่งจะทำงานได้ 1 อย่าง ซึ่งจะแตกต่างจากซีพียูแบบ x86 ทั่วไป ที่ 1 คำสั่งจะทำงานได้หลายอย่างพร้อมกัน

โดยข้อดีของซีพียูสถาปัตยกรรม RISC (อย่าง ARM) คือ จะใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อย ใช้พลังงานน้อย ออกแบบให้มีขนาดเล็กได้ง่าย  แต่ข้อเสียก็คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานร่วมกัน จะทำได้ยากกว่านั่นเอง

ดังนั้น ARM จึงเหมาะที่จะนำมาใช้กับอุปกรณ์พกพา ที่ต้องการประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ดี แต่ใช้พลังงานน้อย อย่างสมาร์ทโฟน หรือแทบเล็ต เป็นต้น

นอกจากนี้ ซีพียู ARM ยังมีข้อได้เปรียบตรงที่ว่า มันมีโมเดม LTE มาด้วยในตัว ทำให้มันสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายความเร็วสูงได้ แม้ว่า Intel จะพัฒนาใช้เอง แต่ก็เชื่อว่าประสิทธิภาพที่มีใน ARM เองน่าจะประหยัดพลังงานมากกว่า (ล่าสุดมีข่าวว่า AMD จับมือกับ Qualcomm นำโมเดม LTE มาใส่ใน Ryzen Mobile ด้วยนะครับ)

ทีนี้ทาง Microsoft เอง พยายามที่จะนำ ARM มาใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ของตน ซึ่งเคยมีการใช้งานร่วมกับ Windows RT ใน Surface ผลปรากฏว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เพราะ Windows RT นั้น จะไม่สามารถรันโปรแกรมที่ใช้งานบนเดสก์ทอปทั่วไปได้ครับ (รันไฟล์ .EXE ไม่ได้ว่างั้นเถอะ) ต้องลงโปรแกรมที่มีใน Windows 8 Store เท่านั้น

แต่ครั้งนี้กับ Windows 10 ได้มีการแก้เกม โดยปรับปรุงให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมทั่วไปได้แล้วครับ เนื่องจากทาง Microsoft ได้สร้างอีมูเลเตอร์ขึ้น เพื่อเป็นการ “จำลอง” สภาพของ Windows บนเดสก์ทอป ให้กับอุปกรณ์ ARM จึงรันโปรแกรมทั้ง 32 และ 64 บิตได้ครับ (แต่สำหรับโปรแกรมใน Windows Store ถือว่ารันใน ARM ได้โดยสมบูรณ์นะครับ)

แล้วการสนับสนุนฮาร์ดแวร์อื่นๆ ล่ะ? ต้องบอกเลยว่ามันอาจจะมีปัญหาอยู่พอสมควร แม้ว่าตัว Windows ใน ARM จะรันโปรแกรมของเวอร์ชันเดสก์ทอปได้ แต่เรื่องไดรเวอร์ จะต้องเป็นตัวที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนซีพียู ARM (อย่างที่ผมบอกว่าการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานกับ ARM มันแตกต่างไปจากซีพียู x86)

เพราะฉะนั้น ฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานบนเดสก์ทอป อาจไม่สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้ชิป ARM นะครับ (เช่น การใช้ Bluetooth printer) สำหรับตอนนี้คงต้องรอการอัพเดตเพิ่มเติมเรื่อยๆ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตน่าจะมีการรองรับอุปกรณ์ภายนอกได้มากขึ้น

และสำหรับเรื่องที่ผมคิดว่าทุกคนอยากรู้ นั่นคือ ประสิทธิภาพของซีพียู ARM มันเจ๋งแค่ไหน? ผมได้นำผลการทดสอบจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งรวบรวมข้อมูลมาจาก Geekbench พบว่า ประสิทธิภาพของซีพียู ARM มันยังไม่น่าดึงดูดใจสักเท่าไร ลองดูได้จากผมข้างล่างนี้ครับ

ผลการทดสอบนี้ทดลองใน Windows Pro 32-bit ซึ่งจากภาพเป็นการเปรียบผลการทดสอบกับ Intel Core i3-8100 ที่ได้คะแนน Single-Core และ Multi-Core ไป 3692 และ 11860 ตามลำดับ ส่วนเจ้า Snapdragon 835 (ในนี้ใช้ชื่อ Qualcomm CLS) ได้ไปเพียง 1202 และ 4068 เท่านั้น

และเมื่อเทียบผลที่ได้จากการทดสอบของอุปกรณ์ Android ถือว่าเจ้า Snapdragon 835 นี้ ยังมีประสิทธิภาพด้อยกว่า เมื่อนำมาใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows เพราะทาง Android เขาทำคะแนนได้ถึง 2200 และ 7700 ในส่วน Single-Core และ Multi-Core ตามลำดับครับ

ถึงตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำไปใช้งานนะครับ เพราะทาง Microsoft เองก็ได้ทดลองใช้งานกับโปรแกรม Photoshop แล้ว พบว่ามันใช้งานได้ดีพอสมควร อีกทั้ง ARM เองยังเด่นในเรื่องของระยะเวลาการใช้งานที่ยอดเยี่ยม เพราะเขาเคลมว่า ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อ LTE ตลอด จะอยู่ได้ 20 ชั่วโมง แต่ถ้าเปิดสแตนด์บายไว้ จะอยู่ได้ถึง 700 ชั่วโมงเลยทีเดียว!

สำหรับอุปกรณ์ที่เตรียมเปิดตัวในเร็วๆ นี้ ได้แก่ ASUS NovaGo ที่จะมาในช่วงสิ้นปีนี้ และ HP Envy x2 ที่เตรียมวางจำหน่ายในต้นปี 2018 ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.howtogeek.com/309119/what-is-windows-10-on-arm-and-how-is-it-different-from-windows-rt/

https://www.techspot.com/news/71895-leaked-windows-arm-benchmarks-show-laptops-failing-match.html

 

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า