มารู้จักกับเทคโนโลยีที่จะช่วยรักษาสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์
โดย นายซานโตช วิศวะนาธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
มนุษยชาติได้รับผลประโยชน์นานับประการในช่วงสองสามศตวรรษที่ผ่านมา เนื่องด้วยความอัจฉริยะเฉพาะบุคคล อย่าง ลีโอนาร์โด ดาวินชี และโมซาร์ท เราจึงได้รังสรรค์งานศิลปะที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผลงานชิ้นเอกทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นที่สนใจของคนทุกยุคสมัย เราเดินทางไปยังดินแดนที่ยากจะเข้าถึง ไม่ว่าจะทางบก ทะเล กระทั่งท้องฟ้า เพื่อค้นหารูปแบบชีวิตใหม่และเริ่มต้นยุคโลกาภิวัตน์ เราได้ส่งผู้คนไปยังดวงจันทร์ พยายามกำจัดโรคภัยต่างๆ อย่างต่อเนื่องและสร้างอนุสรณ์อย่างปิรามิดที่สร้างความเกรงขามให้กับเราและท้าทายทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อย่างที่เรารู้กันในปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าต่างๆ ในมือ แต่การที่ทำให้สัตว์ป่าที่อาศัยร่วมโลกกับเราไปอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธ์นั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่สิปปีเท่านั้น WWF ตั้งข้อสังเกตว่าเรากำลังมองดูประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ลดจำนวนลงถึงร้อยละ 60 ในระยะเวลาเพียง 40 ปี นั่นเพราะพฤติกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย การลักลอบทำประมงเกินขีดจำกัด และการลักลอบล่าสัตว์ป่าเถื่อน
อย่างไรก็ตาม สัตว์ป่าก็คือมนุษยชาติที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะรับมือกับความท้าทายนี้โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และกระบวนการทดลองเพื่อช่วยส่งเสริมความคุ้มครองทั่วโลก เรายังมีหน้าที่ที่จะต้องสร้างความยั่งยืนในอนาคตให้กับโลกใบนี้ เพื่อชีวิตทุกรูปแบบที่เราอาศัยร่วมกันบนโลกใบนี้
หนึ่งในพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีการแทรกแซงเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วนคือการหยุดการลักลอบล่าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จากการคาดการณ์แสดงให้เห็นว่านักล่าสัตว์ฆ่าช้างทุกๆ 15 นาที เป็นจำนวนประมาณ 35,000 ตัวต่อปี ดังนั้นยิ่งเราตรวจสอบและควบคุมการรุกล้ำพื้นที่ผิดกฎหมายได้เท่าไหร่ เราก็จะสามารถช่วยสัตว์ได้มากขึ้นตามไปด้วย
และความพยายามบางส่วนก็กำลังจะเป็นรูปเป็นร่างแล้ว องค์กรไม่แสวงผลกำไร รีซอล์ฟ (Resolve) ได้รับการสนับสนุนโดยสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic Society) ร่วมกับมูลนิธิ
ลิโอนาโด ดิคาร์ปริโอ (Leonardo DiCaprio Foundation) กำลังติดตั้งกล้องเทรลการ์ด เอไอ (TrailGuard AI) ตัวใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยหน่วยประมวลผลอินเทล โมวิเดียส วิชั่น (Intel Movidius Vision / VPUs) ในปี 2562 ป่าสงวนจำนวน 100 แห่ง ในแอฟริกาได้มีการใช้งานกล้องเทรลการ์ด เอไอ ไม่เพียงแค่ตรวจจับผู้บุกรุกเข้าสู่เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าเท่านั้น แต่ยังแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนอุทยานในเวลาใกล้เคียง กล้องอัจฉริยะเหล่านี้ใช้กระบวนการเครือข่ายประสาทเทียมสำหรับการตรวจจับวัตถุและการจำแนกภาพเพื่อช่วยตรวจจับมนุษย์ในภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วยการจับภาพด้วยกล้อง หากตรวจพบผู้ลักลอบล่าสัตว์ เจ้าหน้าที่อุทยานก็จะได้รับการแจ้งเตือนอีกด้วย หวังว่าจะทำให้เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนสามารถเข้าไปในที่เกิดเหตุก่อนที่ผู้บุกรุกจะทำอันตรายใดๆ
การตรวจจับและการยับยั้งไม่ได้เป็นปัญหา ในขณะที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก้าวหน้าไปแล้วเรายังมีข้อตกลงที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่เราพยายามช่วยปกป้อง ยิ่งไปกว่านั้นการรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและมีค่าใช้จ่ายสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มนุษย์เข้าไปสำรวจได้ยากและ “โดรน” คือตำตอบของการเข้าถึงพื้นที่ที่ยากต่อการสำรวจ”
ไวลด์แทรค (WildTrack) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศให้กับการติดตามสัตว์ป่าที่ไม่รุกรานโดยใช้คอนเซอร์เวชั่นฟิต (ConservationFIT) ซึ่งใช้ภาพของรอยเท้าสัตว์ในการตรวจสอบสัตว์ใกล้สูญพันธุ์กว่าหลายสิบสายพันธุ์ โครงการใช้โดรนเพื่อจับภาพในสถานที่ที่มีภูมิประเทศที่ยากต่อการที่จะเข้าถึงของนักวิจัย ตัวอย่างเช่น การค้นหาเส้นทางเสือชีตาห์ในทะเลทรายของประเทศนามิเบีย (Namibia)
จุดที่น่าสนใจนี้คือ: คุณรู้หรือไม่ว่าน้ำมูกของปลาวาฬช่วยให้นักวิจัยเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการสำรวจเพื่อรวบรวมน้ำมูกของปลาวาฬนั้นราคาไม่ถูกเลย
โดรนจากบริษัทโอเชี่ยน อลิอันซ์ (Ocean Alliance) และบริษัทอินเทล (Intel) หรือที่รู้จักกันในชื่อพาร์เล่ย์ สน็อต-บอต (Parley SnotBots) บินขึ้นเหนือปลาวาฬที่ผิวน้ำในมหาสมุทรและทะเลของโลก เมื่อปลาวาฬหายใจออก โดรนจะช่วยเก็บรวบรวมดีเอ็นเอ (DNA) ความเครียดและฮอร์โมนการตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับไวรัส แบคทีเรีย และสารพิษ จากนั้นน้ำมูกจะถูกนำกลับไปให้นักวิจัยเพื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อผลิตข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับโครงการวิจัยและการอนุรักษ์
ความอยู่รอดของสัตว์ป่าในโลกของเรามีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงพยากรณ์และระบบคลาวด์เพื่อช่วยคาดการณ์ว่าผู้ลักลอบจะปรากฏตัวหรือใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ ภาพถ่ายจากดาวเทียมและการทำแผนที่ต้นไม้เพื่อจัดการกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เทคโนโลยีช่วยให้นักอนุรักษ์ทำงานได้ดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม โอกาสในการต่อสู้เพื่อทำให้โลกใบนี้เป็นสถานที่ที่ดีกว่าสำหรับทุกคน
You must be logged in to post a comment.