X-ray ให้เห็นกันไปเลย – Der8auer นักโอเวอร์คล็อกชื่อดัง คอนเฟิร์ม Threadripper และ EPYC ไม่เหมือนกันแน่นอน

ผมไปเจอบทความหนึ่งจากเว็บไซต์ของ Wccftech ที่ได้มีการกล่าวถึงเรื่องของ AMD Ryzen Threadripper และ AMD Epyc ซึ่งบางคนอาจเข้าใจว่า มันคือซีพียูตัวเดียวกันนั่นแหละ แต่เจาะกลุ่มผู้ใช้งานคนละกลุ่ม แถมยังมีขนาดเท่ากันด้วย

แต่ Der8auer นักโอเวอร์คล็อกชื่อดัง ก็ได้ออกมายืนยัยว่า ไม่จริ๊งไม่จริง มันไม่เหมือนกันสักหน่อย แค่ชื่อก็ต่างกันแล้ว โครงสร้างภายในมันก็ต้องต่างกันด้วยสิ

ก่อนที่ผมจะพูดถึงเรื่องนี้ อยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้อ่านบทความเก่าที่ผมเคยเขียนอธิบายความแตกต่างของซีพียูสถาปัตยกรรม Zen ทั้ง 3 กลุ่มไว้ ในลิ้งค์นี้นะครับ “เรื่องน่ารู้ของซีพียู: รู้จัก Ryzen, Threadripper และ Epyc – 3 ทหารเสือแห่งสถาปัตยกรรม Zen

เอาล่ะ ถ้าใครอ่านมาแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า Eypc กับ Threadripper มันต่างกันยังไงบ้าง

จากภาพด้านล่างนี้ ผมได้นำมาจากไฟล์ที่ Der8auer ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดมานะครับ โดยเป็นการเอ็กซ์เรย์พื้นที่ภายในซีพียู จะเห็นได้ว่า ทั้ง Eypc และ Threadripper จะประกอบด้วย 4 CPU Dies เหมือนกัน

แต่ที่แตกต่างคือ Die ของ Threadripper จะมี 2 Dies ที่แปลกไปจาก Epyc นั่นเป็นเพราะว่ามันถูกปิดการใช้งานอย่างถาวร (ไม่สามารถเปิดใช้ได้เหมือน phenom สมัยก่อนนะครับ) เพราะฉะนั้น Threadripper จึงมีแกนประมวลผลสูงสุดแค่ 16 Cores นั่นเอง

AMD Ryzen Threadripper

 

ทางด้าน Epyc ที่ไม่ถูกปิด Die ก็จะมีจำนวนแกนประมวลผลสูงสุด 32 Cores รองรับการทำงานร่วมกับแรม 8 Channel และมี PCIe lane สูงสุดที่ 128 เลน

AMD EPYC

และสิ่งที่ Epyc พิเศษกว่า Threadripper คือ รองรับการทำงานกับซีพียู Epyc ตัวที่ 2 (2P System) ทำให้เราได้ระบบที่มีแกนประมวลผลรวมสูงสุด 64 Cores/128 Threads เลยทีเดียว!

การนำมาใช้งานนะครับ สำหรับผู้ใช้กลุ่มฮาร์ดคอร์ก็น่าจะใช้สู้งสุดแค่ Threadripper นี่แหละ ส่วน Epyc จะนิยมใช้ในงานทางด้านการคำนวณต่างๆ ที่ต้องใช้ซีพียูที่มีแกนประมวลผลจำนวนมากครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://wccftech.com/threadripper-epyc-not-one-same/

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า