PR : ASUS เปิดตัวเกมมิ่งมอนิเตอร์ XG Series ในชื่อรุ่น XG32VQ เกมมิ่งมอนิเตอร์จอโค้งขนาด 32 นิ้วที่มาพร้อมกับอัตรารีเฟรชเรท 144 Hz และเทคโนโลยี Adaptive Sync (Free Sync) เพื่อให้การเล่นเกมส์ที่ลื่นไหลพร้อมทั้งการควบคุมแสงไฟ ASUS AURA SYNC

ASUS เปิดตัวเกมมิ่งมอนิเตอร์ XG Series ในชื่อรุ่น XG32VQ เกมมิ่งมอนิเตอร์จอโค้งขนาด 32 นิ้วที่มาพร้อมกับอัตรารีเฟรชเรท 144 Hz และเทคโนโลยี Adaptive Sync (Free Sync) เพื่อให้การเล่นเกมส์ที่ลื่นไหลพร้อมทั้งการควบคุมแสงไฟ ASUS AURA SYNC

คุณสมบัติเด่น:

  • เกมมิ่งมอนิเตอร์จอโค้งขนาด 32นิ้ว 1800R พร้อมความคมชัดแบบ QHD ให้มุมมองที่คมชัด พร้อมทั้งให้เฉดสี sRGB ที่มาถึง 125%
  • อัตราการรีเฟรชเรทที่สูงถึง 144Hz และมาพร้อมเทคโนโลยี Adaptive-Sync (FreeSync™) ที่ช่วยให้การแสดงผลภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เกิดภาพขาด
  • มอนิเตอร์รุ่น ROG Strix XG ได้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยี ASUS AURA RGB โดยจะแสดงผลทางด้านหลังของมอนิเตอร์และผู้ใช้งานยังสามารถเปลี่ยนการแสดงผลของโลโก้แสงใต้จอได้ด้วยตนเองอีกด้วย

 

 

เกมมิ่งมอนิเตอร์ขนาด 32 นิ้ว ROG Strix XG32VQ เป็นมอนิเตอร์จอโค้งความคมชัดระดับ QHD สำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะ  ROG Strix XG32VQ ให้การแสดงผลของกราฟฟิคได้อย่างผสมผสานและเปิดประสบการณ์ใหม่อีกขั้นให้กับการเล่นเกมพร้อมทั้งมีอัตราการรีเฟรชเรทที่ 144Hz พร้อมการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยี ASUS AURA RGB อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถเปลี่ยนการแสดงผลของโลโก้แสงใต้จอได้ด้วยตนเองพร้อมทั้งสามารถสร้างบรรยากาศในการเล่นเกมและการเล่นแสงได้อีกด้วย

ให้ประสบการณ์สำหรับจอโค้งอย่างเหนือความคาดหมาย

เกมมิ่งมอนิเตอร์ XG32VQ ให้ความกว้างของหน้าจอขนาด 32 นิ้วพร้อมการแสดงผลแบบจอโค้งที่ 1800R เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สามารถดื่มด่ำไปกับอารมณ์ที่สมจริงในขณะที่เล่นเกม และความโค้งของจอแสดงผลทำให้สามารถมองเห็นทุกจุดได้ราวกับสายตาจริง ๆ เพื่อประสบการณ์และความรู้สึกในการรับชมที่สบายตาแม้ว่าจะใช้งานเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ROG Strix XG32VQ ยังมอบเฉดสี sRGB ที่กว้างขึ้นถึง 125% เพื่อการให้สีที่สมจริงมากขึ้น

 

ให้แรงบันดาลใจในการเล่นเกมพร้อมการเปลี่ยนโลโก้แสงด้วยตนเอง

ROG Strix XG32VQ รองรับเทคโนโลยี ASUS AURA Sync พร้อมให้การแสดงผลของแสงตรงด้านหลังของมอนิเตอร์ ให้โหมดการแสดงผลของแสงที่โดดเด่นสอดคล้องกับความหลากหลายของเอฟเฟกต์การเล่นเกมหรือการฟังเพลงในแต่ละประเภท

นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถทำการปรับเปลี่ยนโลโก้แสงไฟแสดงผลใต้หน้าจอได้อีกด้วย โดยทางบริษัทฯ จะแนบแผ่นโลโก้แสง ROG มาให้ในกล่องถึง 2 ชิ้นและอีก 1 ชิ้นจะเป็นแผ่นเปล่าที่ผู้ใช้งานสามารถออกแบบและนำมาใช้งานได้ในแบบฉบับของตนเอง

ให้การเล่นเกมได้อย่างไร้ขอบเขต

ROG Strix XG32VQ ให้อัตรารีเฟรชเรทที่ 144Hz ให้การแสดงผลภาพเคลื่อนไหวที่รวดเร็วอย่างไม่มีปัญหา ทำให้เกมมิ่งมอนิเตอร์ ROG Strix XG32VQ ไม่มีความล่าช้าหรือปัญหาที่น่าผิดหวังในขณะที่ใช้งานทำให้ผู้ใช้ได้รับความพึงพอใจและเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็นแนว FPS, เกมแข่งรถ, RTS หรือจะเป็น เกมกีฬาประเภทต่าง ๆ

เทคโนโลยี ASUS-exclusive Extreme Low Motion Blur จะช่วยให้การแสดงผลภาพเคลื่อนไหวออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น และสำหรับเทคโนโลยี Adaptive-Sync (FreeSync™) จะแสดงผลภาพที่มีราบรื่น รวดเร็วและน่าทึ่งที่สุดในการเล่นเกม พร้อมลดการเกิดภาพขาด ภาพกระตุก รวมไปถึงความล่าช้าในการป้อนข้อมูลหรือแสดงผล

เทคโนโลยี Gamer-Centric enhancements

ROG Strix XG32VQ ให้ฟีเจอร์พิเศษที่เรียกว่า ASUS Exclusive Game Enhancing โดยได้รับการพัฒนามาจากการร่วมมือกับนักเล่นเกมมืออาชีพในการพัฒนาปุ่ม GamePlus Hotkey มาเพื่อการปรับปรุงในเกมเพื่อให้คุณได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจาการเล่นเกม เช่น Crosshair เพื่อให้เหมาะกับเกมที่คุณเล่น นอกจากนี้ยังมีการจับเวลาบนหน้าจอเพื่อให้คุณสามารถวางในตำแหน่งด้านซ้ายของจอแสดงผลเพื่อให้คุณสามารถติดตามและเข้าถึงเวลาที่ใช้ในการเล่นเกม โดยอัตราการเล่นเฟรมต่อวินาที จะช่วยให้คุณทราบความราบลื่นของการแสดงผล รวมไปถึงการปรับแต่งตำแหน่งของหน้าจอเมื่อต่อขยายใช้งานหน้าจอหลาย ๆตัวพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีซอฟท์แวร์สำหรับควบคุมหน้าจอ ASUS Display Widget ซอฟท์แวร์อรรถประโยชน์แบบพิเศษของทาง ASUS ทำให้คุณสามารถปรับการตั้งค่าหรือคุณสมบัติการแสดงผลต่างๆ ของ ASUS GameVisual, AppSyncTM และเทคโนโลยี Ultra-Low Blue Light ได้อีกด้วย

 

 

 

ข้อมูลเชิงเทคนิค:

 

Panel size (diagonal) 31.5″ (80.1cm) widescreen (16:9)
Panel backlight/ type WLED / VA
True resolution/ Refresh rate 2560 x 1440 at 144Hz
Response time 4ms (gray-to-gray)
Adaptive-Sync technology Yes, 48Hz–144Hz
GameVisual Yes (FPS, RTS/RPG, Racing, sRGB, Cinema, Scenery, MOBA, User mode)
GamePlus Yes (Crosshair, Timer, FPS Counter, Display Alignment)
Input / Output 1 x HDMI 2.0 (Supports Adaptive-Sync/FreeSync)

1 x DisplayPort 1.2 (Supports Adaptive-Sync/FreeSync)

1 x Mini DisplayPort

2 x USB 3.0

1 x Earphone jack

Chassis colors Red and dark gray
Mechanical design Tilt angle: +20° ~ -5°

Swivel angle: +50° ~ -50°

Height adjustment: 0–100mm

 

VESA mount 100 x 100 mm
Dimensions 713.38 x (490.02~590.02) x 299.27mm
Weight Net weight: 9.6kg
Gross weight: 13.9kg
Special features Curved monitor

Aura Sync

DisplayWidget

GameFast Input technology

Adaptive-Sync (FreeSync) technology

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า