คุณอาจจะรู้สึกได้ว่าการ์ดจอไม่ใช่เป็นฮาร์ดแวร์ตัวเดียวที่มีราคาถีบตัวสูงขึ้นจนน่าเกลียดและหาซื้อได้ยากอีกต่างหาก. พาวเวอร์ซัพพลาย/PSUs ที่มีกำลังวัตท์ 850W ขึ้นไปก็เช่นกันและกลุ่มขุดเหมืองก็มีส่วนเช่นกัน.
เหตุว่าทำไมพาวเวอร์ซัพพลายราคาถีบตัวสูงขึ้น
อุปสงค์ที่มีมากขึ้น
เหตุผลแรก ง่ายนิดเดียวคือความต้องการในตลาดที่มีมากขึ้น ต้องย้ำว่าเฉพาะที่มีกำลังวัตท์สูงๆเท่านั้นที่จะเป็นที่สนใจสำหรับ crypto mining.
วงจรการการซื้อขายของ PSU
หากถามถึงวงจร/องค์ประกอบ-การไปมาของสินค้าพาวเวอร์ซัพพลายอันนี้สามารถแจกแจงได้ดังนี้: โรงงาน, แบรนด์-บริษัทแม่, แบรน์ด-ท้องถิ่น, ยี่ปั๊ว, ซาปั๊ว, ผู้บริโภค. เริ่มกันที่โรงงาน แน่นอนว่ามันทำขึ้นในประเทศจีน ซึ่งจะมีการสั่งจองล่วงหน้าจากบริษัทแม่. ส่วนบริษัท-ท้องถิ่นหรืออยู่ตามเมืองต่างๆก็จะสั่งของตามปริมาณที่ ยี่่ปั๊วสั่งของ, ซึ่งแน่นอนว่า ตัวเลขที่สั่งก็สะท้อนถึงความต้องการจาก ซาปั๊ว.
และก็มีบางครั้งที่ยอดความต้องการจาก ซาปั๊ว อาจจะมีมากถึงขั้นข้ามไปสั่งของโดยตรงกับ บริษัท-ท้องถื่นได้หรือแม้กระทั่งบริษัทแม่โดยตรง. เช่น Amazon, Newegg, Caseking, Alternate, Scan, และอื่นๆที่มีจำนวนอยู่ในมือ, ยกตัวอย่างเช่น สั่งซื้อจากยี่ห้อดังๆโดยตรง โดยไม่ไปยุ่งกับหรือรอของจากคนกลาง. ซึ่งการสั่งจากบริษัทแม่ จำนวนมันอาจจะมีมากถึงเป็น ตู้คอนเทนเนอร์และราคาก็เป็นแบบ “Free On Board/ราคาหน้าโรงงาน” (FOB) จากเมืองจีนหรือฮ่องกง. ด้วยวีธีนี้ส่วนใหญ่จะได้ดีลที่ดี ราคาที่ลดให้เป็นพิเศษ.
แต่การสั่งแบบ FOB ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเสมอไป หากต้องการสต๊อกของที่เร็ว บางครั้งการสั่งจากบริษัท-ท้องถิ่นหรือประจำเมืองนั้นหรือจาก ยี่ปั๊ว ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่จะทำให้ราคาขายต่อ-แพงขึ้น. แน่อนว่า ราคาที่รับซื้อมาแพงขึ้น คนที่รับต่อไปเต็มๆก็คือ ผู้บริโภคที่ซื้อไปใช้.
สำหรับร้านซาปั๊วหรือหน้าร้านขายจริงทั่วไปใน อเมริกา หรือ ยุโรป ต่างก็มีวิธีการเติมสต๊อกของตัวเองหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสั่งจาก ยี่ปั๊วหรือ FOB จากเมืองจีนและฮ่องกง. ถึงแม้บางช่วงของจะขาดตลาดเป็นเวลานานเ, แต่ราคาขายก็ยังคงเดิม. ส่วนร้านค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะได้สต๊อกมาจากไหนก็จะทำเพื่อไม่ให้ขาดสต็อก ถึงแม้ว่าจะต้องขึ้นราคาขายก็ตาม-อันนี้แล้วแต่เส้นทางที่จะได้มา.
การเพิ่มยอดขายของยี่ปั๊วและซาปั๊ว
ทั้งยี่ปั๊วและซาปั๊วต่างก้รู้ดีว่าพาวเวอร์ซัพพลายวัตท์สูงๆนั้นขาดตลาด แต่ก็ไม่ถือโอกาสเพื่อสต๊อกเพิ่มเพื่อเพิ่มยอดขาย ตรงกันข้ามกลับสต๊อกไว้เท่าเดิม. อันนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางโรงงานหรือแบรน์ดเลย-ร้านค้าบางแห่งอาจจะขายในราคาเดิม-การขึ้นราคาขา่ย บางครั้งอาจจะเป็นการตัดสินใจของแต่ละร้านหรือยี่ปั๊วก็ได้.
อัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับอุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆที่นำมาประกอบในพาวเวอร์ซัพพลายต่างๆซื้อขายกันในอัตราเงิน หยวน Yuan Renminbi (ย่อๆ RMB), เหตุเพราะผลิตและจ่ายค่าแรงเป็นเงินหยวน, ส่วน PSUs นั้นขายเป็นเงิน USD.อัดตราแลกเปลี่ยน USD ไปเป็น RMB ตกลงประมาณปลายปี 2017. เมื่อเดือน มกราคม ที่ผ่านมา, โรงงานผู้ผลิต PSU ต่างก็ขึ้นราคาอีกประมาณ 5% เพื่อชดเชยสิ่งที่ขาดหายไป. และในส่วนของ OEMs/นำไปประกอบใช้ ออกมาเตือนผู้บริโภคของราคาที่จะเพิ่มขึ้นเช่่นกัน, ปรากฏว่ามีอยู่ราย Corsair กลับไม่เพิ่มราคา. อันนี้สามารถกล่าวได้ว่า ความต้องการไม่เสมอไปที่จะทำให้ราคาเพิ่ม แต่กลับเป็น อัตราแลกเปลี่ยน.
ชิ้นส่วนเกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าขาดตลาด
คราวนี้ก็มาถึงตัวไฟฟ้ากันบ้างเช่น capacitors, coils, ICs, MOSFETs, transformers, และอื่นๆราคาก็ถีบตัวสูงขึ้น. อันนี้ไม่ใช่เฉพาะความต้องการของพาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตถ์สูงๆเท่านั้นที่เป็นเหตุ แต่ยังเกี่ยวถึงอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆเช่น รถไฟฟ้าหรือสินค้าที่เกี่ยวข้องที่ใช้อะไหล่ลักษณะเดียวกัน. ผู้ผลิตบางแห่งถึงขั้นต้องรออะไหล่เป็นอาทิตย์ๆ. ส่วนผู้ผลิต PSU ก็โดนไปด้วยเช่นกันช่วงนี้ เพราะเป็นเทศกาลหหยุดยาวของชาวจีน/ตรุษจีน ของเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา, สมมุติว่าร้านค้าหรือยี่ปั๊วมีการสั่ง 1,000 PSUs ช่วงอาทิตย์แรกของเดือน กุมภาพันธ์, คำตอบที่จะได้ก็คือ สินค้าจะส่งมอบถึงมือโดยทางทะเล ไม่่ว่าจะเป็นตลาด อเมริกาหรือ ยุโรป ปาเข้าไปเดือนมิถุนายน เป็นอย่างน้อย.
ความไม่แน่นอนของความต้องการ-พาวเวอร์ซัพพลายวัตถ์สูงๆ
ความต้องการพาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตถ์ 850W ขึ้นไปถือว่าน้อย. ซึ่งอันนี้ทำให้ เจ้าของแบรน์ด, ยี่ปั๊ว, และร้านค้าต่างๆระวังตัวกับโอกาสในตลาด, หากว่าวันใด ธุรกิจขุดเหมืองล่มขึ้นมา อันนี้ซวยเห็นๆ และมันอาจต้องกินเวลาเป็นปีกว่าจะขายหมด. ยกตัวอย่างเช่น ช่วง Bitcoin mining หันหัวเรือจาก PCs ไปยัง ASICs, ทำให้ร้านค้าบางประเภทถึงกับหน้ามืดไปเลยกับสต๊อกที่เหลือ. อันนี้สรุปได้ว่า หลีกเลี่ยงที่จะสต๊อกไว้เยอะๆและหันมาเล่นทางด้านกำไรสูงๆแทนดีกว่า.
บางแบรน์ดบวกกำไรแทน
มีบางแบรน์ดที่เพิ่มราคาขายขึ้นมา เพื่อชดเชยกับสิ่งที่หดหายไป อย่างเช่่น กำไรหรืออุปกรณ์ที่มีราคาเพิ่มขึ้น. ตัวอย่างเช่น EVGA. อ้างอิงจากแหล่งข่าวที่ได้มา, ทางบริษัทบวกเพิ่มอีก 10% กับรุ่นที่ขายให้กับกลุ่มขุดเหมือง. และได้ข่าวมาว่าปิดโกดังที่ Netherlands เสียด้วย, อันนี้ก็หมายความว่า ยี่ปั๊วจะต้องจ่ายค่าขนส่งเพิ่มขึ้น. และร้านค้าทั่วไปก็ต้องเพิ่มราคาขายอีก 20% สำหรับรุ่น 1600 G2/P2/T2 เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรไว้คงเดิม.
และสำหรับทาง EVGA เหตุที่ต้องเพิ่มราคาเป็นเพราะสินค้ากลุ่มของขุดเหมืองนั้น เสี่ยงต่อการอัตราแลกเปลี่ยน RMA ที่จะสูงขึ้น, แถมพาวเวอร์ซัพพลายระดับ high-end นั้นอายุการรับประกันสินค้าจะอยู่ที่ 7-12 ปี.
ค้าขนส่ง
บางบริษัทหันมาใช้แอร์คาร์โก้แทนเพื่อให้เวลาส่งมอบนั้นสั่นลงและรี-สต๊อกได้ทัน. ถามว่าแพงขึ้นขนาดไหน ที่เห็นก็ประมาณ $10-$15 ต่อเครื่องเลยทีเดียว, สิ่งที่เพิ่มก็จะตกไปยังผู้บริโภคเช่นเดิม.
สรุป
บางบริษัทอย่าง EVGA, เพิ่มราคาขายเพราะต้องการชดเชยจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนที่สูงขึ้น อันนี้เหตุมาจากกลุ่มขุดเหมืองโดยตรง. และสำหรับแบรน์ดอื่นๆและ OEMs เพิ่มราคาขายเป็นเพราะต้องการทำกำไรเท่าเดิมเพื่อความอยู่รอด. ส่วนแบรน์ดใหญ๋ๆเช่น Corsair อันนี้ยังไม่เพิ่มราคาแต่คาดว่าอีกไม่นาน.
ส่วนยี่ปั๊วและซาปั๊วที่หันมาขึ้นราคา ก็เป็นเพราะว่าความต้องการในตลาดสูง. ค่าขนส่งที่แพงขึ้น, อะไหล่ที่นำมาประกอบเป็นพาวเวอร์ซัพพลายขาดช่วง, อัตราแลกเปลี่ยน USD ไปเป็น RMB ตก. ทั้งหมดนี้จึงทำให้ราคาของพาวเวอร์ซัพพลายกำลังวัตถ์สูงๆนั้นแพงขึ้น.
ที่มาเครดิต/Sources:
http://www.tomshardware.com/news/why-high-capacity-psu-prices-are-rising,36593.html
You must be logged in to post a comment.